วิทยากร : การจัดการเรียนการสอนวิชาวิทยาการคำนวณ สพป.พะเยา เขต 1

ได้มีโอกาสไปเยือนพะเยากับเชียงรายเป็นครั้งแรกครับ เป้าหมายที่จะเดินทางไปคือสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษา พะเยา เขต 1 เป็นการอบรมครูผู้สอนวิชาวิทยาการคำนวณครับ ส่วนเชียงรายนั้นเป็นจังหวัดแรกที่เคยไปเหมือนกัน และที่ต้องไปเชียงรายเพราะต้องไปลงสนามบินที่นั่นเพื่อนั่งรถต่อไปพะเยาอีกประมาณ 90 กิโลเมตร

ในการมาบรรยายครั้งนี้ นอกจากจะเน้นย้ำเรื่องของหลักสูตร ตัวชี้วัด การจัดหลักสูตรของโรงเรียน รายวิชา และการจัดการเรียนการสอนวิชาวิทยาการคำนวณที่ต้องสอนทั้ง 3 แกน ได้แก่ ICT DL และ Computer Science แล้ว ครั้งนี้ได้เจาะลึกเพิ่มมากขึ้นในส่วนของ Computer Science โดยเน้นไปที่แนวทางการจัดกิจกรรมให้เกิด Computation Thinking ทั้ง 4 ขั้นตอน ได้แก่ การแยกย่อยปัญหา การหารูปแบบ การหาแนวคิดเชิงนามธรรม และการเขียนอัลกอริทึม

โดยเฉพาะ 3 ส่วนแรก คือ การแยกย่อยปัญหา การหารูปแบบ และการหาแนวคิดเชิงนามธรรม เป็นสิ่งที่คุณครูยังไม่เข้าใจและยังให้ความสำคัญกับเรื่องนี้น้อยอยู่มาก โดยที่พบเห็นส่วนมากแล้ว จะเน้นไปที่เขียนโปรแกรมเลย มีโจทย์ให้คิดให้ทำหรือให้เขียนโปรแกรมแก้ปัญหาทันที แต่ยังขาดการพัฒนาเด็กให้ฝึกคิดใน 3 ประเด็นแรกที่กล่าวไว้ครับ

เมื่อได้แนวคิด เข้าใจมาตรฐาน ตัวชี้วัด แนวทางการจัดหลักสูตร รายวิชาแล้ว เราก็จะเริ่มกิจกรรมกันเลย สำหรับครูประถมผมก็ยังเน้นย้ำเรื่องการใช้ Unplugged Programming ก่อน เพราะคุณครูสามารถนำไปปรับใช้ได้ และไม่จำเป็นต้องใช้เครื่องมือตามที่ผมยกตัวอย่างเท่านั้น ยังมีเครื่องมือ กิจกรรมอีกมากมาย ซึ่งคุณครูสามารถค้นหาได้จาก keyword ว่า “Unplugged Programming” พร้อมกับปัจจุบันก็มีเวอร์ชันภาษาไทยที่ ม.ธรรมศาสตร์ ได้แปลไว้ให้เรียบร้อยแล้วด้วยครับ

เมื่อเกิดทักษะทั้งทางด้านแนวคิดเชิงคำนวณ (Computational Thinking) แล้ว เราก็จะจบกิจกรรม Unplugged เพื่อเข้าสู่กิจกรรมแบบ Block Programming ซึ่งกิจกรรมนี้เราไม่เน้นว่าต้องใช้เครื่องมือใด เพราะขึ้นอยู่กับความพร้อมและความถนัดของคุณครู แต่คุณครูต้องมีความเข้าใจว่า Block Programming นี้สามารถนำไปพัฒนาเด็กๆ ให้เกิดแนวคิดเชิงคำนวณได้อย่างไรบ้าง และจะมีเทคนิควิธีการจัดกิจกรรมอย่างไร

บางโรงเรียนอาจจะใช้ Scratch บางที่อาจจะใช้ Micro:bit หรือบางที่ก็ใช้ Kidbright ครับ ซึ่งจุดนี้เราเน้นไปที่เข้าในหลักการ และกระบวนการที่จะเกิดกับเด็กครับ เพราะพื้นฐานของโปรแกรมแนวๆ นี้ก็จะเหมือนๆ กันอยู่แล้ว

สำหรับที่พะเยานี้ ผมสามารถรวบรัดแบบแรพเปอร์ได้ทั้ง Scratch และ Micro:bit แต่คุณครูอาจจะต้องไปทบทวนเพิ่มเติมอีกหน่อยครับตามเอกสารที่ให้ไว้

ซึ่งทุกครั้งที่ไปบรรยาย ผมก็จะแนะนำครูประมาณนี้ เป้าหมายคือครูนำไปใช้ได้จริงๆ หยิบกิจกรรมที่มีให้ไปใช้กับเด็กได้เลย ซึ่งใช้แล้วครูต้องรู้ด้วยว่ากิจกรรมนี้ตอบตัวชี้วัดไหนครับ

ช่วงนี้อาจจะเหนื่อยๆ หน่อย แต่เดี๋ยวครูเข้าใจแก่นของวิชานี้แล้วก็คงจะร่วมกันพัฒนาเด็กไทยให้มีทักษะนี้ยิ่งๆ ดีๆ ขึ้นต่อไป

หนังสือเชิญ

Related Posts

Upskill : รู้ทัน AI เพื่อยกระดับการจัดการเรียนรู้อย่างเท่าทันเทคโนโลยี

ถึงเวลาแล้วที่ครูจะต้องรู้ทันเทคโนโลยีครับ แม้ว่าเราจะไม่ได้ใช้มันอย่างเต็มที่ แต่การรู้เท่าทันก็จะทำให้ครูปรับตัวตามการเรียนรู้ของนักเรียนได้ครับ เพราะทุกครั้งที่คุณครูมอบหมายงานทุกวันนี้ เด็กๆ ก็อาจจะใช้ AI ช่วยในการทำงานแล้วก็ได้ ดังนั้นการรู้เท่าทันหรือนำ AI ไปปรับใช้ได้ก็จะเป็นประโยชน์ต่อการสอนแน่นอนครับ เอกสารที่ผมใช้ในการบรรยายเรื่อง Upskill : รู้ทัน AI เพื่อยกระดับการจัดการเรียนรู้อย่างเท่าทันเทคโนโลยี ของโรงเรียนสวนกุหลาบวิทยาลัย รังสิต มีดังนี้ครับ อบรม AI โดย ณัฐพล บัวอุไร

แผนการจัดการเรียนรู้วิชาวิทยาการคำนวณ ม.4 (มัดรวม ตชว.ม.4 ม.5 และ ม.6)

แผนกาารจัดการเรียนรู้ (แผนการสอน) วิชาวิทยาการคำนวณ ม.ปลาย แบบมัดรวมตัวชี้วัดตามมาตรฐาน ว 4.2 ม.4-6 มาในวิชาเดียวครับ เพื่อให้สามารถจบหลักสูตรได้ในเทอมเดียว เป็นแผนที่ผมสอนจริงตามนี้ครับ แต่อาจจะสอนไม่ทันในบางเรื่องนะ ก็ใช้วิธีการรวบเนื้อหาเอา … เหตุที่ต้องจัดแบบนี้เพราะหน่วยกิตวิชาพื้นฐานระดับชั้นมัธยมศึกษาตอนปลาย ของรายวิชาเทคโนโลยีของผมนั้นได้มา 1.5 หน่วยกิต โดยผมแบ่ง 1.0 หน่วยกิตมาเป็นวิชาวิทยาการคำนวณ สอนในระดับ ม.4 ภาคเรียนที่ 1 (2 คาบ/สัปดาห์)…

แผนการจัดการเรียนรู้วิชาการออกแบบและเทคโนโลยี ม.4 (ตชว.ม.4 และ ม.5)

แผนการจัดการเรียนรู้วิชาการออกแบบและเทคโนโลยี ม.4 จัดทำโดยครูณัฐพล บัวอุไร เป็นแผนการจัดการเรียนรู้ที่รวมเอาตัวชี้วัด ม.4 และ ม.5 ของมาตรฐาน ว 4.1 (การออกแบบและเทคโนโลยี) มาเขียนไว้ในแผนการจัดการเรียนรู้เดียว เนื่องจากโรงเรียนจัดหน่วยกิตวิชาพื้นฐานสำหรับจัดการเรียนการสอนวิชานี้เพียง 0.5 หน่วยกิตครับ และจัดไว้ในระดับชั้น ม.4 ครับ (สำหรับวิทยาการคำนวณ จัดวิชาพื้นฐานไว้ในระดับ ม.4 ภาคเรียนที่ 1 จำนวน 1 หน่วยกิต)…

การอบรมเชิงปฏิบัติการ “การพัฒนาระบบอัตโนมัติและ IoT ด้วยบอร์ด ESP32 โรงเรียนรัตนาธิเบศร์”

สำหรับวันนี้…ได้รับเกียรติจากเพื่อนครู คณะครู และคณะผู้บริหารของโรงเรียนรัตนาธิเบศร์ ให้ไปจัดการอบรมเชิงปฏิบัติการ “การพัฒนาระบบอัตโนมัติและ IoT ด้วยบอร์ด ESP32” ครับ … ซึ่งก็รู้สึกยินดีเป็นอย่างยิ่ง เพราะจะได้สอนเกี่ยวกับเทคโนโลยีและการพัฒนาระบบอัตโนมัติให้กับนักเรียนกลุ่มนี้ ซึ่งก็คือนักเรียนห้องเรียนพิเศษ ม.1 และ ม.4 ครับ … แม้ว่าจะมีน้อง ม.1 เข้าร่วมกิจกรรมการอบรมเขียนโปรแกรมครั้งนี้ด้วย แต่ก็ต้องบอกว่าสามารถเรียนรู้และปฏิบัติได้ไม่แพ้พี่ ม.4 เลยทีเดียว … วันนี้ผมก็เลยขอนำเอกสารการอบรมมาเผยแพร่ให้ผู้ที่สนใจได้นำไปปรับใช้หรือนำไปใช้สอนนักเรียนครับ ตามลิงก์ที่ให้ไว้นี้เลย…

เอกสารประกอบการอบรม ESP32 (ระบบอัตโนมัติ, Line Notify, MQTT, Blynk)

เอกสารการอบรมนี้ผมจัดทำขึ้นเพื่อใช้อบรมให้ความรู้นักเรียนครับ คุณครูสามารถนำไปปรับใช้ หรือนำไปทดลองใช้ได้ครับ มีตัวอย่างตั้งแต่ระบบอัตโนมัติแบบง่าย ๆ ไปจนถึงการพัฒนาระบบ IoT เบื้องต้น ดังนี้ครับ ESP32 โดย ณัฐพล บัวอุไร

ชนะเลิศการประกวดโครงงานคอมพิวเตอร์ ระดับเขตพื้นที่การศึกษา พ.ศ. 2566

การแข่งขันศิลปหัตกรรมนักเรียน ระดับเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาปทุมธานี เขต 1 รายการแข่งขันโครงงานคอมพิวเตอร์ ม.4-6 ปีนี้ได้นักเรียนมาจากงานแสดงผลงานบูรณาการ ม.4 รายวิชาวิทยาการคำนวณครับ ซึ่งนักเรียนกลุ่มนี้มีความสามารถด้านการสร้างเกมคอมพิวเตอร์ด้วย Roblox และเป็นลูกศิษย์ห้องผมที่เป็นครูประจำชั้นด้วย … ความโชคดีคือนักเรียนมีความขยัน ตั้งใจ และผลงานทั้งหมดนักเรียนตั้งใจทำขึ้นมาเองเลย ทำให้ผลงานออกมาดีเกินคาด และสามารถนำเสนอให้กรรมการรับฟังได้อย่างดีเลย ซึ่งก็ได้รับรางวัลชนะเลิศมาในที่สุด … แต่ปีนี้การแข่งขันระดับชาติได้ประกาศงดการจัดการแข่งขันไปแล้วครับ แต่ถึงจะไม่ได้ไปแข่งต่อ แต่ผลงานนี้เชื่อว่านักเรียนสามารถพัฒนาต่อยอดหรือนำเสนอเกมในรูปแบบอื่น ๆ ตามความถนัดของตนเองบนเวทีอื่นได้ต่อไปอย่างแน่นอน

Leave a Reply

Your email address will not be published. Required fields are marked *

This site uses Akismet to reduce spam. Learn how your comment data is processed.