สอน Coding อย่างไรให้ประสบความสำเร็จในสถานศึกษา

ได้รับเกียรติจากสำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา กระทรวงศึกษาธิการ ให้ไปบรรยายในหัวข้อ “สอน Coding อย่างไรให้ประสบความสำเร็จในสถานศึกษา”  ณ สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา ในวันนี้ครับ (วันที่ 19 ก.ย. 2562)

เป็นอีกงานหนึ่งที่ผมต้องเตรียมการและเตรียมตัวไปให้ดีที่สุด เพราะผู้เข้าร่วมประชุมเป็นผู้บริหารส่วนราชการครับ ทั้งสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา โรงเรียน และหน่วยงานอื่นๆ

ถึงแม้ว่าจะให้ผมมาพูดในหัวข้อการสอน Coding ในโรงเรียน แต่งานนี้ผมก็ไม่ได้มาพูดเฉพาะ Coding ครับ เพราะ Coding เป็นเพียงส่วนเดียวเท่านั้นในสาระของหลักสูตรใหม่ แต่พูดทั้งหมดเลยตั้งแต่ที่ไปที่มาของการเกิดหลักสูตรนี้ หลักสูตรนี้สำคัญอย่างไร มีสาระสำคัญอะไรบ้าง จะออกแบบหลักสูตรอย่างไร กิจกรรมการสอนจะสอนอย่างไรให้ตรงตามตัวชี้วัด และการวัดประเมินผลครับ

หากเปิดใจแล้ว ผมว่าวิชานี้ไม่ได้ยากเกินความสามารถคุณครูที่จะมาสอนหรอกครับ แม้ว่าจะไม่จบสาขาคอมพิวเตอร์มาโดยตรงก็ตาม เพียงคุณครูเริ่มต้นศึกษามาตรฐาน ตัวชี้วัด ก็จะเห็นว่าจริงๆ สอนวิทยาการคำนวณนั้นไม่ยากเลย แค่มีกิจกรรมมาให้เด็กๆ ได้คิดเยอะๆ ได้ทำเยอะๆครับ

และก็ยังเน้นย้ำเสมอว่าวิทยาการคำนวณหรือการ Coding ก็ตาม ไม่ใช่การสอนหุ่นยนต์ ไม่ใช่การสอนแก้ปัญหาด้วยการเขียนโปรแกรมเพียงอย่างเดียว แต่ยังมีเทคนิคการแยกย่อยปัญหา การหารูปแบบ และการหาแนวคิดเชิงนามธรรมอีกด้วย

ส่วนสาระก็ยังมี DL ที่จะช่วยให้สังคมเราสงบสุข และยังมี ICT ที่จะเพิ่มพูนทักษะด้านการทำ Data Visualization ซึ่งสำคัญไม่ยิ่งหย่อนไปกว่า Computer Science ครับ

แล้วก็ยกตัวอย่างการจัดกิจกรรมด้าน Computer Science ตั้งแต่กิจกรรม Unplugged, Block ถึงการเขียนโปรแกรมด้วยภาษาไพทอน

ซึ่งเป้าหมายไม่ว่าจะเรียนด้วยสื่ออะไร ก็คือการฝึกคิดอย่างเป็นลำดับขั้นตอน ครบถ้วนทุกเงื่อนไข และได้อัลกอริทึมที่คิดว่าดีที่สุดที่จะใช้แก้ปัญหาใดๆ ครับ

ณัฐพล…รายงาน (หนังสือเชิญ)

Related Posts

Upskill : รู้ทัน AI เพื่อยกระดับการจัดการเรียนรู้อย่างเท่าทันเทคโนโลยี

ถึงเวลาแล้วที่ครูจะต้องรู้ทันเทคโนโลยีครับ แม้ว่าเราจะไม่ได้ใช้มันอย่างเต็มที่ แต่การรู้เท่าทันก็จะทำให้ครูปรับตัวตามการเรียนรู้ของนักเรียนได้ครับ เพราะทุกครั้งที่คุณครูมอบหมายงานทุกวันนี้ เด็กๆ ก็อาจจะใช้ AI ช่วยในการทำงานแล้วก็ได้ ดังนั้นการรู้เท่าทันหรือนำ AI ไปปรับใช้ได้ก็จะเป็นประโยชน์ต่อการสอนแน่นอนครับ เอกสารที่ผมใช้ในการบรรยายเรื่อง Upskill : รู้ทัน AI เพื่อยกระดับการจัดการเรียนรู้อย่างเท่าทันเทคโนโลยี ของโรงเรียนสวนกุหลาบวิทยาลัย รังสิต มีดังนี้ครับ อบรม AI โดย ณัฐพล บัวอุไร

แผนการจัดการเรียนรู้วิชาวิทยาการคำนวณ ม.4 (มัดรวม ตชว.ม.4 ม.5 และ ม.6)

แผนกาารจัดการเรียนรู้ (แผนการสอน) วิชาวิทยาการคำนวณ ม.ปลาย แบบมัดรวมตัวชี้วัดตามมาตรฐาน ว 4.2 ม.4-6 มาในวิชาเดียวครับ เพื่อให้สามารถจบหลักสูตรได้ในเทอมเดียว เป็นแผนที่ผมสอนจริงตามนี้ครับ แต่อาจจะสอนไม่ทันในบางเรื่องนะ ก็ใช้วิธีการรวบเนื้อหาเอา … เหตุที่ต้องจัดแบบนี้เพราะหน่วยกิตวิชาพื้นฐานระดับชั้นมัธยมศึกษาตอนปลาย ของรายวิชาเทคโนโลยีของผมนั้นได้มา 1.5 หน่วยกิต โดยผมแบ่ง 1.0 หน่วยกิตมาเป็นวิชาวิทยาการคำนวณ สอนในระดับ ม.4 ภาคเรียนที่ 1 (2 คาบ/สัปดาห์)…

แผนการจัดการเรียนรู้วิชาการออกแบบและเทคโนโลยี ม.4 (ตชว.ม.4 และ ม.5)

แผนการจัดการเรียนรู้วิชาการออกแบบและเทคโนโลยี ม.4 จัดทำโดยครูณัฐพล บัวอุไร เป็นแผนการจัดการเรียนรู้ที่รวมเอาตัวชี้วัด ม.4 และ ม.5 ของมาตรฐาน ว 4.1 (การออกแบบและเทคโนโลยี) มาเขียนไว้ในแผนการจัดการเรียนรู้เดียว เนื่องจากโรงเรียนจัดหน่วยกิตวิชาพื้นฐานสำหรับจัดการเรียนการสอนวิชานี้เพียง 0.5 หน่วยกิตครับ และจัดไว้ในระดับชั้น ม.4 ครับ (สำหรับวิทยาการคำนวณ จัดวิชาพื้นฐานไว้ในระดับ ม.4 ภาคเรียนที่ 1 จำนวน 1 หน่วยกิต)…

การอบรมเชิงปฏิบัติการ “การพัฒนาระบบอัตโนมัติและ IoT ด้วยบอร์ด ESP32 โรงเรียนรัตนาธิเบศร์”

สำหรับวันนี้…ได้รับเกียรติจากเพื่อนครู คณะครู และคณะผู้บริหารของโรงเรียนรัตนาธิเบศร์ ให้ไปจัดการอบรมเชิงปฏิบัติการ “การพัฒนาระบบอัตโนมัติและ IoT ด้วยบอร์ด ESP32” ครับ … ซึ่งก็รู้สึกยินดีเป็นอย่างยิ่ง เพราะจะได้สอนเกี่ยวกับเทคโนโลยีและการพัฒนาระบบอัตโนมัติให้กับนักเรียนกลุ่มนี้ ซึ่งก็คือนักเรียนห้องเรียนพิเศษ ม.1 และ ม.4 ครับ … แม้ว่าจะมีน้อง ม.1 เข้าร่วมกิจกรรมการอบรมเขียนโปรแกรมครั้งนี้ด้วย แต่ก็ต้องบอกว่าสามารถเรียนรู้และปฏิบัติได้ไม่แพ้พี่ ม.4 เลยทีเดียว … วันนี้ผมก็เลยขอนำเอกสารการอบรมมาเผยแพร่ให้ผู้ที่สนใจได้นำไปปรับใช้หรือนำไปใช้สอนนักเรียนครับ ตามลิงก์ที่ให้ไว้นี้เลย…

เอกสารประกอบการอบรม ESP32 (ระบบอัตโนมัติ, Line Notify, MQTT, Blynk)

เอกสารการอบรมนี้ผมจัดทำขึ้นเพื่อใช้อบรมให้ความรู้นักเรียนครับ คุณครูสามารถนำไปปรับใช้ หรือนำไปทดลองใช้ได้ครับ มีตัวอย่างตั้งแต่ระบบอัตโนมัติแบบง่าย ๆ ไปจนถึงการพัฒนาระบบ IoT เบื้องต้น ดังนี้ครับ ESP32 โดย ณัฐพล บัวอุไร

ชนะเลิศการประกวดโครงงานคอมพิวเตอร์ ระดับเขตพื้นที่การศึกษา พ.ศ. 2566

การแข่งขันศิลปหัตกรรมนักเรียน ระดับเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาปทุมธานี เขต 1 รายการแข่งขันโครงงานคอมพิวเตอร์ ม.4-6 ปีนี้ได้นักเรียนมาจากงานแสดงผลงานบูรณาการ ม.4 รายวิชาวิทยาการคำนวณครับ ซึ่งนักเรียนกลุ่มนี้มีความสามารถด้านการสร้างเกมคอมพิวเตอร์ด้วย Roblox และเป็นลูกศิษย์ห้องผมที่เป็นครูประจำชั้นด้วย … ความโชคดีคือนักเรียนมีความขยัน ตั้งใจ และผลงานทั้งหมดนักเรียนตั้งใจทำขึ้นมาเองเลย ทำให้ผลงานออกมาดีเกินคาด และสามารถนำเสนอให้กรรมการรับฟังได้อย่างดีเลย ซึ่งก็ได้รับรางวัลชนะเลิศมาในที่สุด … แต่ปีนี้การแข่งขันระดับชาติได้ประกาศงดการจัดการแข่งขันไปแล้วครับ แต่ถึงจะไม่ได้ไปแข่งต่อ แต่ผลงานนี้เชื่อว่านักเรียนสามารถพัฒนาต่อยอดหรือนำเสนอเกมในรูปแบบอื่น ๆ ตามความถนัดของตนเองบนเวทีอื่นได้ต่อไปอย่างแน่นอน

Leave a Reply

Your email address will not be published. Required fields are marked *

This site uses Akismet to reduce spam. Learn how your comment data is processed.