ความตรง (Validity)

ความตรง คือ คุณสมบัติของเครื่องมือที่สามารถวัดได้ในสิ่งที่ต้องการวัด ตามวัตถุประสงค์และสถานการณ์ที่กำหนดไว้

1. ความตรงตามเนื้อหา (Content validity) หมายถึง คุณสมบัติของเครื่องมือที่ใช้วัดเนื้อหาได้ครบตามขอบเขตที่กำหนดไว้ การพิจารณาว่าเครื่องมือมีความตรงตามเนื้อหามากน้อยเพียงใดนั้น พิจารณาจากเครื่องมือว่าครอบคลุมเนื้อหาต่างๆ ที่ต้องการวัดครบถ้วนเพียงใด ซึ่งการพิจารณาความตรงของแบบทดสอบนั้นอาจจะอาศัยตารางวิเคราะห์หลักสูตรเป็นเกณฑ์ในการพิจารณา

2. ความตรงตามสภาพ (Concurrent validity) หมายถึงคุณสมบัติของเครื่องมือที่สามารถวัดพฤติกรรมต่างๆ ได้สอดคล้องกับพฤติกรรมที่เกิดขึ้นจริงในระยะเวลาเดียวกัน เช่น นักเรียน ม.4 ทำแบบทดสอบที่ครูสร้างขึ้น ได้ผลการทดสอบสอดคล้องกับการทำแบบทดสอบมาตรฐานวิชาเดียวกัน แสดงว่าแบบสอบที่ครูสร้างขึ้นมีความตรงตามสภาพ

3. ความตรงเชิงพยากรณ์ (Predictive validity) หมายถึง คุณสมบัติของเครื่องมือที่สามารถพยากรณ์พฤติกรรมต่างๆ ได้สอดคล้องกับพฤติกรรมที่เกิดขึ้นจริงในอนาคต เช่น ถ้าผลการสอบคัดเลือกเข้ามหาวิทยาลัยวิชาคณิตศาสตร์ มีความสอดคล้องกับผลการสอบคณิตศาสตร์ เมื่อนักเรียนเรียนอยู่ในมหาวิทยาลัยชั้นปีที่ 1 แสดงว่าแบบสอบเข้ามหาวิทยาลัยมีความตรงเชิงพยากรณ์

4. ความตรงตามทฤษฎี (Construct validity) หมายถึง คุณสมบัติของเครื่องมือที่สามารถวัดหรืออธิบายพฤติกรรมหรือสิ่งที่ต้องการวัดได้ตรงตามทฤษฎี ส่วนใหญ่ความตรงตามทฤษฎีนั้นใช้วัดสิ่งที่เป็นนามธรรมและวัดโดยตรงได้ยาก เช่น สติปัญญา ความคิดสร้างสรรค์ ความกระวนกระวาย บุคลิกภาพ เป็นต้น

Related Posts

การแจกแจงทางทฤษฎีที่ใช้อนุมานสถิติ

การแจกแจงทางทฤษฎี (Theoretical distribution) ที่ใช้ในอนุมานสถิติบ่อยๆ มีอยู่ 4 ประเภทด้วยกันคือ 1. การแจกแจงแบบโค้งปกติ (Normal distribution) 2. การแจกแจงแบบไคว์สแควร์ (Chi-square distribution) 3. การแจกแจงแบบ F (F-distribution) 4. การแจกแจงแบบ t (t-distrubution) 1. การแจกแจงแบบโค้งปกติ (Normal distribution)…

การวัดการกระจาย

การสรุปลักษณะต่างๆ ของข้อมูลนั้น ใช้การวัดแนวโน้มเข้าสู่ส่วนกลางเพียงอย่างเดียวไม่เพียงพอ จำเป็นที่จะต้องใช้การวัดการกระจายด้วยเพื่อให้ทราบว่าข้อมูลแต่ละชุดมีการกระจายแตกต่างกันอย่างไร โดยมีวิธีการดังนี้ 1. พิสัย (Range) คือความแตกต่างระหว่างข้อมูลที่มีค่าสูงสุดกับข้อมูลที่มีค่าต่ำสุด การจัดการกระจายแบบนี้เป็นการวัดแบบหยาบๆ 2. ค่าเบี่ยงเบนควดไทล์ (Quartile deviation : Q.D.) คือค่าครึ่งหนึ่งของผลต่างระหว่างควอไทล์ที่ 3 กับควอไทล์ที่ 1 ใช้เมื่อข้อมูลนั้นมีการวัดแนวโน้มเข้าสู่ส่วนกลางด้วยค่ามัธยฐาน 3. ค่าเบี่ยงเบนเฉลี่ย (Mean deviation : M.D.)…

การวัดแนวโน้มเข้าสู่ส่วนกลาง

การวัดแนวโน้มเข้าสู่ส่วนกลาง การสรุปลักษณะของข้อมูลโดยทั่วไป จะคำนึงถึงลักษณะ 2 ประการ คือ ค่าที่เป็นตัวแทนของข้อมูลแต่ละชุด และลักษณะการกระจายของข้อมูล โดยการหาค่าสถิติที่ทีเป็นตัวแทนของข้อมูลแต่ละชุด คือ การวัดแนวโน้มสู่ส่วนกลาง โดยมีค่าสถิติที่นิยมใช้ได้แก่ ค่าเฉลี่ย มัธยฐาน และฐานนิยม   ความสัมพันธ์ระหว่างค่าเฉลี่ย มัธยฐานและฐานนิยมในลักษณะการแจกแจงต่างๆ 1. ถ้าข้อมูลมีลักษณะการแจกแจงเป็นโค้งปกติ คือ เป็นโค้งที่มีลักษณะรูประฆัง ค่าเฉลี่ย มัธยฐานและฐานนิยม จะมีค่าเท่ากัน 2. ถ้าข้อมูลมีลักษณะการแจกแจงเบ้ไปทางขวา…

ตำแหน่งเปอร์เซ็นไทล์ เดไซน์และควอไทล์

ตำแหน่งเปอร์เซ็นไทล์ เดไซน์และควอไทล์ ข้อมูลที่รวบรวมมาได้ในแต่ละชุด จะมีลักษณะเฉพาะของตนเอง  ในการที่จะเปรียบเทียบตำแหน่งต่างๆ ของข้อมูลคนละชุดนั้น ควรจะแปลงข้อมูลเหล่านั้นให้อยู่ในลักษณะเดียวกันเสียก่อน สถิติที่ใช้ในการเปรียบเทียบและวัดตำแหน่งต่างๆ ที่จะกล่าวถึงในที่นี้ ได้แก่   ตำแหน่งเปอร์เซ็นไทล์ (Percentile : P) ตำแหน่งเปอร์เซ็นไทล์ หมายถึง ตำแหน่งที่บอกให้ทราบว่ามีข้อมูลอยู่กี่ส่วนจากร้อยส่วนที่มีค่าน้อยกว่าหรือเท่ากับคะแนน ณ ตำแหน่งนั้น เช่น นายยอกสอบได้คะแนนสถิติ 60 คะแนน ซึ่งตรงกับตำแหน่งเปอร์เซ็นไทล์ที่ 70 หมายความว่า…

ชนิดของข้อมูลและตัวแปร

ชนิดของข้อมูล เนื่องจากสถิติบางอย่างไม่สามารถใช้ได้กับข้อมูลทุกชนิด ผู้วิจัยจึงควรทำความรู้จักกับชนิดของข้อมูล โดยชนิดของข้อมูลแบ่งได้เป็น 4 ชนิด ดังนี้ 1. ข้อมูลนามบัญญัติ (Nominal data) เป็นข้อมูลที่แบ่งเป็นกลุ่ม ไม่สามารถนำมาคำนวณได้ เช่น เพศ ชนิดโรงเรียน เป็นต้น 2. ข้อมูลเรียงลำดับ (Ordinal data) เป็นข้อมูลที่นอกจากจะจำแนกเป็นกลุ่มได้แล้ว ยังสามารถนำมาเรียงอันดับได้อีกด้วย ได้แก่ ผลการแข่งขัน ระดับความคิดเห็น เป็นต้น…

สถิติวิจัยทางการศึกษา

สถิติ (Statistics) หมายถึง ระเบียบวิธีการทางสถิติ ซึ่งประกอบด้วยการเก็บรวบรวมข้อมูล การนำเสนอข้อมูล การวิเคราะห์ข้อมูลและการแปลความหมายข้อมูล ชนิดของสถิติ แบ่งออกได้เป็น 2 ประเภทใหญ่ๆ ดังนี้ 1. พรรณนาสถิติ (Descriptive Statistics) เป็นสถิติที่มุ่งศึกษาและอธิบายลักษณะต่างๆ ของกลุ่มประชากรเป้าหมาย โดยทำการรวบรวมข้อมูลต่างๆ จากทุกๆ หน่วยของประชากร และวิเคราะห์ แปลความหมายในกลุ่มประชากรนั้นเท่านั้น 2. อนุมานสถิติ (Inferential Statistics)…

This Post Has 2 Comments

Leave a Reply

Your email address will not be published. Required fields are marked *

This site uses Akismet to reduce spam. Learn how your comment data is processed.