[c language #5] ตัวแปรและ Text Formatting

ตัวแปร (variable) คือสิ่งที่จะช่วยเราจำค่าต่างๆ ไว้แสดงค่าหรือคำนวณภายหลัง โดยตัวแปรเหล่านี้จะเก็บค่าเอาไว้ในหน่วยความจำ (Memory) ของคอมพิวเตอร์นั่นเอง

การประกาศตัวแปร (Declarations) ก่อนที่เราจะนำตัวแปรมาใช้ได้ เราต้องประกาศตัวแปรเสียก่อน โดยมีรูปแบบดังนี้

int number;

char letter;

ชนิดของตัวแปร

Type name                                   meaning                                                                                          Format

char                                                ใช้เก็บตัวอักษรหรืออักขระ 1 ตัว (Character)                                      %c

int                                                    ใช้เก็บเลขจำนวนเต็ม (Integer)                                                            %d

float                                                 ใช้เก็บตัวเลขจำนวนจริง (Floating number)                                      %f

double                                            ใช้เก็บตัวเลขจำนวนจริง ที่มีขนาดใหญ่กว่า float                                  %lf

การกำหนดค่าตัวแปร คือการเปลี่ยนค่าที่ตัวแปรนั้นๆ เก็บไว้ในหน่วยความจำ ซึ่งเป็นค่าที่กำหนดขึ้น

int x;

x = 5;

บรรทัดแรกคือการประกาศตัวแปรที่มีชื่อว่า  x  ไว้เก็บข้อมูลประเภทเลขจำนวนเต็ม (Integer)
บรรทัดที่สอง คือการกำหนดค่าตัวแปร ในที่นี้เป็นการกำหนดค่า 5 ลงในตัวแปร x

เราสามารถกำหนดค่าตัวแปรพร้อมๆ กับการประกาศตัวแปรได้ ดังนี้

int x = 5;
char c = ‘A’;

ภาษาซีมีกฏเกณฑ์ในการตั้งชื่อตัวแปรดังนี้
1.  ต้องประกอบขึ้นจากตัวอักษรภาษาอังกฤษ ตัวเลข และเครื่องหมาย  _  (Underscore) เท่านั้น
2.  อักขระตัวแรกจะต้องเป็นตัวอักษรภาษาอังกฤษ หรือเครื่องหมาย  _  เท่านั้น (ห้ามเป็นตัวเลข)
3.  ตัวพิมพ์ใหญ่ และตัวพิมพ์เล็กถือเป็นคนละตัวกัน เช่น Salary และ SALARY เป็นชื่อที่แตกต่างกัน
4.  มีความยาวไม่เกิน 31 อักขระ
5.  ชื่อจะต้องไม่ซ้ำกับคำสงวน (Reserved word)

———————————————————————-

Text Formatting

คำสั่ง printf() นอกจากจะใช้แสดงผลข้อความธรรมดาๆ แล้ว ยังสามารถจัดรูปแบบให้กับข้อความได้อีกด้วย ซึ่งชื่อเต็มๆของ printf  ก็คือ print formatted นั่นเอง

ตัวอย่างโค๊ด

int x = 5, y = 7;

char c = ‘A’;

float r = 5.55;

printf(“Value of x + y = %d”, x + y);

printf(“Value of c = %c”, c);

printf(“Value of r = %f”, r);

ผลลัพธ์

Value of x + y = 12

Value of c = A

Value of r = 5.550000

โจทย์ท้าดวล!!! (5 คะแนน)

ให้นักเรียนเขียนโปรแกรม โดยมีการประกาศค่าตัวแปรดังต่อไปนี้ และแสดงผลค่าของตัวแปรออกทางหน้าจอ ดังตัวอย่างผลลัพธ์

กำหนดตัวแปร

char str = ‘Z’;

float grade = 3.55;

int number1 = 50, number2 = 100;

ผลลัพธ์ที่ต้องการให้แสดงออกทางหน้าจอ

Number1 – Number2 = -50

Number1 / Number2 = 0

My grade is 3.55

My char is Z

ทำเสร็จแล้ว…จะช้าอยู่ใยล่ะครับ ส่งมาให้ครูตรวจได้เลย โดยคลิกที่รูปด้านล่างนี้เพื่อส่งคำตอบ

answer

ตรวจผลการส่งได้จากลิงค์นี้เลยครับ ตรวจผลการส่ง

Related Posts

แผนการจัดการเรียนรู้วิชาวิทยาการคำนวณ ม.4 (มัดรวม ตชว.ม.4 ม.5 และ ม.6)

แผนกาารจัดการเรียนรู้ (แผนการสอน) วิชาวิทยาการคำนวณ ม.ปลาย แบบมัดรวมตัวชี้วัดตามมาตรฐาน ว 4.2 ม.4-6 มาในวิชาเดียวครับ เพื่อให้สามารถจบหลักสูตรได้ในเทอมเดียว เป็นแผนที่ผมสอนจริงตามนี้ครับ แต่อาจจะสอนไม่ทันในบางเรื่องนะ ก็ใช้วิธีการรวบเนื้อหาเอา … เหตุที่ต้องจัดแบบนี้เพราะหน่วยกิตวิชาพื้นฐานระดับชั้นมัธยมศึกษาตอนปลาย ของรายวิชาเทคโนโลยีของผมนั้นได้มา 1.5 หน่วยกิต โดยผมแบ่ง 1.0 หน่วยกิตมาเป็นวิชาวิทยาการคำนวณ สอนในระดับ ม.4 ภาคเรียนที่ 1 (2 คาบ/สัปดาห์)…

แผนการจัดการเรียนรู้วิชาการออกแบบและเทคโนโลยี ม.4 (ตชว.ม.4 และ ม.5)

แผนการจัดการเรียนรู้วิชาการออกแบบและเทคโนโลยี ม.4 จัดทำโดยครูณัฐพล บัวอุไร เป็นแผนการจัดการเรียนรู้ที่รวมเอาตัวชี้วัด ม.4 และ ม.5 ของมาตรฐาน ว 4.1 (การออกแบบและเทคโนโลยี) มาเขียนไว้ในแผนการจัดการเรียนรู้เดียว เนื่องจากโรงเรียนจัดหน่วยกิตวิชาพื้นฐานสำหรับจัดการเรียนการสอนวิชานี้เพียง 0.5 หน่วยกิตครับ และจัดไว้ในระดับชั้น ม.4 ครับ (สำหรับวิทยาการคำนวณ จัดวิชาพื้นฐานไว้ในระดับ ม.4 ภาคเรียนที่ 1 จำนวน 1 หน่วยกิต)…

[ESP32 – Microblock] ตอนที่ 2 Line Notify แจ้งเตือนอุณหภูมิสูงเกินกว่าที่กำหนดไว้

ตัวอย่างการพัฒนาระบบแจ้งเตือน Line Notify ด้วย Microblock ครับ … ตัวอย่างนี้ผมลองใช้ DHT22 ซึ่งเป็นโมดูลวัดอุณหภูมิและความชื้นในอากาศ … การเชื่อมต่อ ขาบวกต่อเข้ากับ 3V, ขาลบต่อเข้ากับ GND และ OUT ต่อกับ GPIO4 หรือ pin D4 ของบอร์ด ESP32 ครับ ……

[ESP32 – Microblock] ตอนที่ 1 เริ่มต้นเขียนโปรแกรมควบคุม ESP32 ด้วย Microblock

ตอนที่ 1 เริ่มต้นเขียนโปรแกรมควบคุม ESP32 ด้วย Microblock … เขียนโค้ดควบคุม MCU ด้วยภาษาซี/python อาจจะไม่สนุก เด็กๆหลายคนไม่ถนัดในการพิมพ์ ทำให้เกลียดการเขียนโปรแกรมไปเลยก็ได้ … วันนี้เรามาลองใช้ Block Program เขียนคำสั่งควบคุม ESP32 กันดีกว่าครับ เพราะอยู่ในรูปแบบ Block คำสั่ง มี plugin ให้เล่นเยอะ มี…

[ESP32] เขียนโปรแกรมควบคุม ESP32 ด้วย Microblock

เขียนโค้ดควบคุม MCU ด้วยภาษาซี/python อาจจะไม่สนุก เด็กๆหลายคนไม่ถนัดในการพิมพ์ ทำให้เกลียดการเขียนโปรแกรมไปเลยก็ได้ … วันนี้เรามาลองใช้ Block Program เขียนคำสั่งควบคุม ESP32 กันดีกว่าครับ เพราะอยู่ในรูปแบบ Block คำสั่ง มี plugin ให้เล่นเยอะ มี dashboard ให้ด้วย แก๋วเลยยย

[ESP32] เริ่มต้นใช้งาน ตั้งค่า ทดสอบการเชื่อมต่อและอัปโหลดโปรแกรม

การใช้งาน ESP32 การเริ่มต้นใช้งาน ตั้งค่า และทดสอบการเชื่อมต่อโดยการอัปโหลดโปรแกรม หมายเหตุ ไปที่เมนู File, Preferences วางลิงก์นี้ที่ Additional Boards Manager URLs: https://dl.espressif.com/dl/package_esp32_index.json

Leave a Reply

Your email address will not be published. Required fields are marked *

This site uses Akismet to reduce spam. Learn how your comment data is processed.