สอนลูก (อันนา) ใช้เงิน

หลังจากเปิดเรียนแบบออนไซต์มาได้เกือบปี ก็ต้องใช้เวลาอยู่พักใหญ่ ๆ ในการให้อันนาได้ปรับตัวจากการเรียนออนไลน์มาเป็นการเรียนแบบออนไซต์ที่โรงเรียนครับ

แรงจูงใจหนึ่งที่ทำตั้งแต่เริ่มไปเรียนออนไซต์คือการกำหนดของรางวัลประจำสัปดาห์ ถ้าอันนาไปเรียนครบทั้งสัปดาห์โดยไม่ขอหยุดเรียนเลย ของรางวัลที่อันนาเลือกได้ก็แล้วแต่ที่อยากได้ครับ โดยมีงบประมาณให้ 100 – 200 บาท
และทุก ๆ เย็นก่อนเข้าบ้านก็จะแวะซื้อขนมที่ร้านสะดวกซื้อกัน แต่ละวันก็มากน้อยไม่เท่ากัน พ่อก็จะเลือกไว้เยอะ ๆ เพราะอันนาชอบกินขนมตอนกลางคืนด้วย ก็ครั้งละร้อยกว่าบาท สองร้อย
จนมาวันหนึ่งรู้สึกว่าพ่อกับแม่ตามใจอันนามากไปหน่อย อยากได้อะไรก็ให้ อยากได้อะไรก็ซื้อ จึงต้องคิดใหม่แล้วครับ เพื่อไม่ให้เค้าเคยตัวกับการใช้เงินตามใจตัวเอง เพราะไม่เช่นนั้น โตขึ้นเค้าอาจจะต้องการอะไรที่ใหญ่ไปมากกว่านี้ แล้วถ้าเราให้ไม่ได้ ก็อาจจะเป็นปัญหาได้
พ่อโจ๊กกับแม่ฝนเลยตกลงกันว่า เราจะให้ค่าขนมอันนาเป็นรายสัปดาห์ ตอนปลายเทอมที่ 1 เราให้สัปดาห์ละ 300 รวมค่าขนมและค่าของขวัญที่เค้าอยากจะซื้อตอนสุดสัปดาห์ด้วย
แต่พอมาเทอมที่ 2 นี้ รู้สึกว่าน่าจะไม่พอ แค่ซื้อขนมก็หมดแล้ว (จริงๆ ขนมเดียวนี้ก็แพงด้วยนะ) ก็เลยเพิ่มให้เป็นสัปดาห์ละ 400 บาทครับ ซึ่งเราได้คุยกันแล้วบอกข้อตกลงอันนาว่า ต่อไปนี้ให้อันนาจัดการเงินของตัวเองก้อนนี้ เงินก้อนนี้จะเป็นทั้งค่าขนมและค่าของขวัญที่อันนาอยากได้ ดังนั้นหากหนูซื้อขนมเยอะ ซื้อจนหมด หรือซื้อมาแล้วกินบ้างไม่กินบ้าง ก็จะไม่เหลือเงินซื้อของที่อยากได้ในวันหยุดเลย
ซึ่งอันนาก็ตกลงด้วยดี และพ่อกับแม่ก็เห็นพฤติกรรมที่เปลี่ยนไปหลายอย่างของอันนา อันนาเริ่มซื้อขนมที่ตัวเองอยากจะกินจริง ๆ เท่านั้น บางครั้งบอกให้ซื้อเพิ่มก็ไม่ซื้อ เช่น สาหร่ายที่อันนาชอบกัน ปกติเราจะซื้อกันหลาย ๆ ห่อ แต่เดี๋ยวนี้อันนาจะซื้อแค่ห่อเดียว หรือบางวันก็ซื้อแค่ชานมไข่มุก เพราะพ่อจะมีลูกชิ้นหรือขนมที่ซื้อจากโรงอาหารโรงเรียนมาฝากและให้ทานในรถตอนกลับบ้านอยู่แล้ว
แต่อันนาก็ไม่ได้ตระหนี่จนเกินไป วันนี้ลองบอกอันนาว่า “เลี้ยงชานมพ่อหน่อยนะ” อันนาก็โอเค และสั่งชานมให้พ่อด้วย (ใจดีจริงๆ)
จากเงินสี่ร้อนบาทตอนต้นสัปดาห์ ตอนนี้บางสัปดาห์ก็มีเงินเหลือหยอดกระปุก บางสัปดาห์ก็ใช้หมดเลย แต่ถ้าสัปดาห์ไหนอยากได้ของชิ้นใหญ่ที่ราคาแพงกว่าเงินที่เหลืออยู่ ก็สามารถสมทบเก็บไว้รวมกับสัปดาห์ต่อไปได้
สรุปว่าวิธีนี้ก็ถือว่าได้ผลดีนะครับ ที่ฝึกให้อันนาได้รู้จักการบริหารจัดการเงินของตัวเอง ถือว่าเป็นจุดเริ่มต้นในการบริหารและจัดการตัวเองด้วยครับ

Related Posts

MOU ก้าวไกล ไม่มีการเมืองไทยยุคไหนที่จะทำแบบนี้มาก่อน

เป็นอีกบทบาทหนึ่งของสังคมการเมืองไทย ที่มีแกนนำพรรคที่จะร่วมจัดตั้งรัฐบาลมาจัดทำ MOU ร่วมกัน ตกลงกันเพื่อที่จะทำงานให้ประเทศชาติ แน่นอนครับการเช็นต์อะไรลงไปใน MOU นั้นต้องเป็นการผูกมันและให้คำมั่นสัญญาว่าจะทำงานตามที่ระบุไว้ในนั้น และทุกพรรคก็หารือร่วมกันจนได้ร่าง MOU ที่สมบูรณ์

สิ่งที่ต้องบันทึกไว้ในครั้งนี้ เพื่อเป็นเอาไว้เป็นประวัติศาสตร์การเมืองไทย ก็คือรายละเอียด MOU ครับ ซึ่งขออนุญาตนำมาโพสไว้ดังนี้

การทำงานของนักการเมืองรุ่นใหม่ (แตกต่างไปจากเดิมมากจริง ๆ)

หากเราผ่านการเลือกตั้งมามากกว่า 3 – 4 ครั้ง เราจะพบว่า เมื่อมีพรรคการเมืองใดเป็นฝ่ายชนะ ก็จะเริ่มหาพรรคพวก ในกรณีที่เสียง สส. ยังไม่เพียงพอ หรือกว่าจะได้รับการรับรอง ก็นานเป็นเดือน แล้วจึงจะเริ่มทำงานตามนโยบายที่หาไว้กันใช่ไหมครับ

แต่ในยุคนี้ (พ.ศ. 2566) การเลือกตั้ง 2566 แปลกไปจากครั้งก่อน ๆ เพราะสื่อสังคมออนไลน์เติมโตมาก นักการเมืองในพรรคที่ได้ สส. เยอะ ก็เป็นคนรุ่นใหม่เป็นส่วนใหญ่ (พรรคก้าวไกล) จึงเริ่มสื่อสารกับประชาชน เริ่มวางแผน และบางส่วนก็เริ่มทำงานกันแล้ว โดยที่ยังไม่ได้รับการรับรองจาก กกต. เลย 

เลือกตั้ง 2566

การเลือกตั้ง สส. และนายกประเทศไทย ณ เวลานี้ก็รู้ผลคร่าว ๆ เป็นที่แน่นอนแล้วครับ หลังจากที่มีการจัดการเลือกตั้งวันที่ 14 พ.ค. 2566 

การเลือกตั้งในทุก ๆ ครั้งก็จะมีสถิติที่รายงานบนหน้าจอทีวีและสื่อออนไลน์ให้เห็นกันปกติ แต่ครั้งนี้หลาย ๆ สำนักทำดีมาก ทำเป็น data visualization ได้เห็นภาพชัดเจนจริงๆ

One day trip: ทำบุญที่วัดธัญญผล ไปบางแสน และสะพานชลมารควิถี

วันที่ 7 พ.ค. 2566 วันนี้ตกลงกับคุณแม่ของอันนาไว้ว่าจะพาไปทานข้าวที่ชลบุรี และก็เลือกร้านไว้แล้วเรียบร้อยครับ เป็นร้านแถวๆ สะพานชลมารควิถี ชื่อร้านว่า “เพลินทะเล”

เริ่มต้นตอนเช้าหลังจากเก็บกวาดบ้าน ทำความสะอาดเรียบร้อยตามหน้าที่ เราก็ออกเดินทางกันเลย

การเริ่มเก็บเงินก้อนใหญ่ของอันนา ตอนอายุ 7 ขวบ

อันนาเริ่มต้นจริงจังกับการเก็บเงินให้ได้ 35,000 ด้วยการทำบัญชีเงินเก็บ

จากเดิมที่ให้ค่าขนมอันนาสัปดาห์ละ 400 และหากต้องการของอะไรพิเศษก็ใช้เงินค่าขนมซื้อ ในทุกๆสัปดาห์อันนาก็จะซื้อของที่อยากได้ แต่ก็ไม่ได้เอามาใช้ประโยชน์ได้จริง เช่น กระเป๋า ขวดน้ำ ตุ๊กตา ทำให้ไม่ค่อยเหลือเงินเก็บ

ในระยะหลังนี้อันนาเริ่มอยากได้ของที่แพงมากขึ้น พ่อจึงได้โอกาสเริ่มสอนอันนาเรื่ิองการเก็บเงิน การใช้เงินอย่างคุ้มค่า และการหักห้ามใจไม่ซื้อของที่ไม่ได้ใช้จริง เพื่อเก็บเงินไว้ซื้อสิ่งที่ใหญ่และสำคัญกว่า

หลายๆ ครั้งที่เขายืนพิจารณาตุ๊กตา ขวดน้ำ กระเป๋า ที่ร้านค้า ซึ่งเป็นสิ่งของที่ไม่ค่อยได้ใช้ประโยชน์ อันนาเริ่มที่จะคิดว่าถ้าซื้อสิ่งนั้นก็จะไม่มีเงินเก็บเพื่อซื้อสิ่งของชิ้นใหญ่ที่ตัวเองต้องการ

มันยากเหมือนกันนะ กับการห้ามใจตัวเอง กับการฝืนใจที่จะไม่ซื้อของตรงหน้าเพื่อเป้าหมายที่ใหญ่กว่า แต่อันนาก็เริ่มทำได้แล้ว

ค่าขนมที่ให้ไป รร ก็เริ่มใช้แบบคุ้มค่ามากขึ้น เพื่อให้ให้มีเงินเก็บเยอะๆ ในวันหยุดสุดสัปดาห์อันนาก็จะขวนขวายนับเงินและเริ่มบันทึกลงสมุดไว้

ตอนนี้ก็ได้เยอะพอสมควรแล้ว ขาดอีก 3 หมื่นเองนะอันนา สู้ๆ

พาอันนาเที่ยวสวนน้ำ The Resort Water Park สวนผึ้ง ราชบุรี

ปีนี้มีโอกาสได้พาอันนาแวะเที่ยวสวนผึ้งราชบุรีแล้ว เพราะอันนาเคยบอกไว้ว่าอยากไปเที่ยวสวนผึ้ง อยากไป The Resort (น่าจะเพราะว่าดูช่องน้องบีม)
ดังนั้นปีนี้ก่อนเดินทางลงใต้ไปสุราษฎร์กัน ก็เลยได้่พาอันนาไปเที่ยวสวนผึ้งครับ และไปแวะรับยายติ๋มของอันนาลงไปใต้ด้วยที่อำเภอจอมบึง อันนาจะสนุกและชอบที่นี่ไหม ไปดูกันครับ

ใส่ความเห็น

อีเมลของคุณจะไม่แสดงให้คนอื่นเห็น ช่องข้อมูลจำเป็นถูกทำเครื่องหมาย *

This site uses Akismet to reduce spam. Learn how your comment data is processed.