รับรางวัลและนำเสนอผลงานดีเด่น Coding Achievement Awards

รับรางวัลและนำเสนอผลงานดีเด่น Coding Achievement Awards โดยมี ดร.คุณหญิงกัลยา โสภณพนิช รมช.กระทรวงศึกษาธิการ เป็นประธานในการมอบโล่รางวัล ณ โรงเรียนวัดราชบพิธ กทม.
coding ไม่ใช่เรื่องยาก สำหรับระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน การ coding ก็เพื่อฝึกกระบวนการคิดแบบคอมพิวเตอร์และแก้ปัญหาด้วย computational thinking ได้ ซึ่งกระบวนการคิดนี้มันเอาไปใช้ได้ทุกเรื่อง ไม่ใช่เฉพาะการแก้ปัญหาโปรแกรมเท่านั้น
เช่นอะไร? เช่น ถ้าเราจะทำเค้กโดยที่เราทำไม่เป็น เราก็ต้อง decompose ปัญหาก่อน ไปดูซิว่าทำเค้กต้องมีวัตถุดิบ อุปกรณ์อะไร ดูเฉพาะสิ่งที่สำคัญ (abstract) ก่อนแล้วก็ไปหา pattern จาก youtube มาสักคลิปนึง ทำตามขั้นตอนวิธีในนั้น (algorithm) แค่นี้ล่ะครับ computational thinking ในชีวิตประจำวัน
ดร.คุณหญิงกัลยา มักจะพูดว่า “coding for all, all for coding” ซึ่งผมก็เพิ่งมารู้อย่างชัดเจนว่าเราหนีไม่พ้น coding จริง เช่น ปัจจุบัน คณะอักษรศาสตร์หลายๆ ที่ ให้นักศึกษาเรียน Natural language processing (NLP) เพราะมองว่าภาษาคอมพิวเตอร์เป็นศาสตร์ภาษาด้านหนึ่งเหมือนกัน หรืออย่างเช่นเกษตรกร ชาวนาที่สร้างรถไถควบคุมผ่านรีโมทย์ตามที่เป็นข่าวครับ
สำหรับรางวัลนี้ ต้องขอบคุณผู้เกี่ยวข้องทุกส่วน ทั้งฝ่ายบริหาร กลุ่มสาระ และนักเรียนในแต่ละรุ่นของผมที่อดทน ฝ่าฟัน ปวดหัวกับการเขียนโปรแกรมกับผมมาตลอด และสัญญาว่าผมจะคิดโจทย์โปรแกรมสนุกๆ มาให้ทำอีกเยอะๆ ครับ

Related Posts

Upskill : รู้ทัน AI เพื่อยกระดับการจัดการเรียนรู้อย่างเท่าทันเทคโนโลยี

ถึงเวลาแล้วที่ครูจะต้องรู้ทันเทคโนโลยีครับ แม้ว่าเราจะไม่ได้ใช้มันอย่างเต็มที่ แต่การรู้เท่าทันก็จะทำให้ครูปรับตัวตามการเรียนรู้ของนักเรียนได้ครับ เพราะทุกครั้งที่คุณครูมอบหมายงานทุกวันนี้ เด็กๆ ก็อาจจะใช้ AI ช่วยในการทำงานแล้วก็ได้ ดังนั้นการรู้เท่าทันหรือนำ AI ไปปรับใช้ได้ก็จะเป็นประโยชน์ต่อการสอนแน่นอนครับ เอกสารที่ผมใช้ในการบรรยายเรื่อง Upskill : รู้ทัน AI เพื่อยกระดับการจัดการเรียนรู้อย่างเท่าทันเทคโนโลยี ของโรงเรียนสวนกุหลาบวิทยาลัย รังสิต มีดังนี้ครับ อบรม AI โดย ณัฐพล บัวอุไร

แผนการจัดการเรียนรู้วิชาวิทยาการคำนวณ ม.4 (มัดรวม ตชว.ม.4 ม.5 และ ม.6)

แผนกาารจัดการเรียนรู้ (แผนการสอน) วิชาวิทยาการคำนวณ ม.ปลาย แบบมัดรวมตัวชี้วัดตามมาตรฐาน ว 4.2 ม.4-6 มาในวิชาเดียวครับ เพื่อให้สามารถจบหลักสูตรได้ในเทอมเดียว เป็นแผนที่ผมสอนจริงตามนี้ครับ แต่อาจจะสอนไม่ทันในบางเรื่องนะ ก็ใช้วิธีการรวบเนื้อหาเอา … เหตุที่ต้องจัดแบบนี้เพราะหน่วยกิตวิชาพื้นฐานระดับชั้นมัธยมศึกษาตอนปลาย ของรายวิชาเทคโนโลยีของผมนั้นได้มา 1.5 หน่วยกิต โดยผมแบ่ง 1.0 หน่วยกิตมาเป็นวิชาวิทยาการคำนวณ สอนในระดับ ม.4 ภาคเรียนที่ 1 (2 คาบ/สัปดาห์)…

แผนการจัดการเรียนรู้วิชาการออกแบบและเทคโนโลยี ม.4 (ตชว.ม.4 และ ม.5)

แผนการจัดการเรียนรู้วิชาการออกแบบและเทคโนโลยี ม.4 จัดทำโดยครูณัฐพล บัวอุไร เป็นแผนการจัดการเรียนรู้ที่รวมเอาตัวชี้วัด ม.4 และ ม.5 ของมาตรฐาน ว 4.1 (การออกแบบและเทคโนโลยี) มาเขียนไว้ในแผนการจัดการเรียนรู้เดียว เนื่องจากโรงเรียนจัดหน่วยกิตวิชาพื้นฐานสำหรับจัดการเรียนการสอนวิชานี้เพียง 0.5 หน่วยกิตครับ และจัดไว้ในระดับชั้น ม.4 ครับ (สำหรับวิทยาการคำนวณ จัดวิชาพื้นฐานไว้ในระดับ ม.4 ภาคเรียนที่ 1 จำนวน 1 หน่วยกิต)…

การอบรมเชิงปฏิบัติการ “การพัฒนาระบบอัตโนมัติและ IoT ด้วยบอร์ด ESP32 โรงเรียนรัตนาธิเบศร์”

สำหรับวันนี้…ได้รับเกียรติจากเพื่อนครู คณะครู และคณะผู้บริหารของโรงเรียนรัตนาธิเบศร์ ให้ไปจัดการอบรมเชิงปฏิบัติการ “การพัฒนาระบบอัตโนมัติและ IoT ด้วยบอร์ด ESP32” ครับ … ซึ่งก็รู้สึกยินดีเป็นอย่างยิ่ง เพราะจะได้สอนเกี่ยวกับเทคโนโลยีและการพัฒนาระบบอัตโนมัติให้กับนักเรียนกลุ่มนี้ ซึ่งก็คือนักเรียนห้องเรียนพิเศษ ม.1 และ ม.4 ครับ … แม้ว่าจะมีน้อง ม.1 เข้าร่วมกิจกรรมการอบรมเขียนโปรแกรมครั้งนี้ด้วย แต่ก็ต้องบอกว่าสามารถเรียนรู้และปฏิบัติได้ไม่แพ้พี่ ม.4 เลยทีเดียว … วันนี้ผมก็เลยขอนำเอกสารการอบรมมาเผยแพร่ให้ผู้ที่สนใจได้นำไปปรับใช้หรือนำไปใช้สอนนักเรียนครับ ตามลิงก์ที่ให้ไว้นี้เลย…

เอกสารประกอบการอบรม ESP32 (ระบบอัตโนมัติ, Line Notify, MQTT, Blynk)

เอกสารการอบรมนี้ผมจัดทำขึ้นเพื่อใช้อบรมให้ความรู้นักเรียนครับ คุณครูสามารถนำไปปรับใช้ หรือนำไปทดลองใช้ได้ครับ มีตัวอย่างตั้งแต่ระบบอัตโนมัติแบบง่าย ๆ ไปจนถึงการพัฒนาระบบ IoT เบื้องต้น ดังนี้ครับ ESP32 โดย ณัฐพล บัวอุไร

ชนะเลิศการประกวดโครงงานคอมพิวเตอร์ ระดับเขตพื้นที่การศึกษา พ.ศ. 2566

การแข่งขันศิลปหัตกรรมนักเรียน ระดับเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาปทุมธานี เขต 1 รายการแข่งขันโครงงานคอมพิวเตอร์ ม.4-6 ปีนี้ได้นักเรียนมาจากงานแสดงผลงานบูรณาการ ม.4 รายวิชาวิทยาการคำนวณครับ ซึ่งนักเรียนกลุ่มนี้มีความสามารถด้านการสร้างเกมคอมพิวเตอร์ด้วย Roblox และเป็นลูกศิษย์ห้องผมที่เป็นครูประจำชั้นด้วย … ความโชคดีคือนักเรียนมีความขยัน ตั้งใจ และผลงานทั้งหมดนักเรียนตั้งใจทำขึ้นมาเองเลย ทำให้ผลงานออกมาดีเกินคาด และสามารถนำเสนอให้กรรมการรับฟังได้อย่างดีเลย ซึ่งก็ได้รับรางวัลชนะเลิศมาในที่สุด … แต่ปีนี้การแข่งขันระดับชาติได้ประกาศงดการจัดการแข่งขันไปแล้วครับ แต่ถึงจะไม่ได้ไปแข่งต่อ แต่ผลงานนี้เชื่อว่านักเรียนสามารถพัฒนาต่อยอดหรือนำเสนอเกมในรูปแบบอื่น ๆ ตามความถนัดของตนเองบนเวทีอื่นได้ต่อไปอย่างแน่นอน

Leave a Reply

Your email address will not be published. Required fields are marked *

This site uses Akismet to reduce spam. Learn how your comment data is processed.