IPv4 และ IPv6 คืออะไร

เมื่อเราเปิดเครื่องคอมพิวเตอร์เพื่อใช้งานอินเทอร์เน็ต คงจะเคยเห็นตัวเลขแปลกๆ เช่น 127.0.0.1 หรือ 192.168.1.1 หรือจำนวนอื่นๆ ตัวเลขเหล่านี้คืออะไรกัน

ตัวเลขเหล่านี้คือหมายเลข IP ประจำเครื่องครับ โดย IP ก็ย่อมาจากคำว่า Internet Protocol หน้าที่ของเจ้าเลขพวกนี้ก็คือ เป็นหลายเลขที่ใช้ในระบบเครือข่าย เป็นหมายเลขประจำเครื่องคอมพิวเตอร์ของเรา ในกรณีที่เราเชื่อมต่อกับระบบเครือข่าย ยกตัวอย่างง่ายๆ เช่น โทรศัพท์มือถือทุกเครื่องก็จะมีเลขหมายหรือเบอร์โทรศัพท์เพื่อบอกว่าถ้าจะติดต่อเครื่องนี้ให้โทรมาที่เบอร์นี้นะ เช่นเดียวกันครับ คอมพิวเตอร์ก็มีเลขหมายหรือพูดง่ายก็คือชื่อมันนั่นเอง เพือให้เครื่องคอมพิวเตอร์หรืออุปกรณ์ต่างๆ บนระบบเครือข่ายรู้จักกัน

จากหมายเลข IP ที่ยกตัวอย่างไปด้านบน เราเรียกว่า IPv4 ครับ โดยจะเป็นหมายเลขที่มีทั้งหมด 32 บิต (แต่ละช่วงเว้นวรรคด้วย . ) แบ่งเป็นช่วงละ 8 บิต โดยตัวเลข 8 นี้ก็จะมีค่าตั้งแต่ 0 – 255 ครับ ดังนั้น IPv4 จึงมีหมายเลขได้ตั่งแต่ 0.0.0.0 ถึง 255.255.255.255 แต่ก็ใช่ว่าทุกตัวจะใช้ได้หมดนะครับ เพราะจะมีบางหมายเลขที่ถูกเก็บไว้ใช้งานเฉพาะ

IPv4 ทั้งหมดถูกแบ่งออกเป็น Class ชนิดต่างๆ เพื่อจุดประสงค์ในการใช้งานที่ต่างกันไป ดังนี้ครับ

  1. คลาส A เริ่มตั้งแต่ 1.0.0.1 ถึง 127.255.255.254
  2. คลาส B เริ่มตั้งแต่ 128.0.0.1 ถึง 191.255.255.254
  3. คลาส C เริ่มตั้งแต่ 192.0.1.1 ถึง 223.255.254.254
  4. คลาส D เริ่มตั้งแต่ 224.0.0.0 ถึง 239.255.255.255 ใช้สำหรับงาน multicast
  5. คลาส E เริ่มตั้งแต่ 240.0.0.0 ถึง 255.255.255.254 ถูกสำรองไว้ ยังไม่มีการใช้งาน

สำหรับไอพีในช่วง 127.0.0.0 ถึง 127.255.255.255 ใช้สำหรับการทดสอบระบบ

แต่หมายเลข IP ด้านบนนี้ก็ยังถูกแบ่งออกเป็นอีก 2 ประเภทคือ IP ส่วนตัว (Private IP) และ IP สาธารณะ (Publish IP)

โดย IP ส่วนตัวมีไว้สำหรับใช้งานภายในองค์กรเท่านั้น ได้แก่

  1. ไอพีส่วนตัว คลาส A เริ่มตั้งแต่ 10.0.0.0 ถึง 10.255.255.255 สับเน็ตมาสต์ที่ใช้ได้ เริ่มตั้งแต่ 255.0.0.0 ขึ้นไป
  2. ไอพีส่วนตัว คลาส B เริ่มตั้งแต่ 172.16.0.0 ถึง 172.31.255.255 สับเน็ตมาสต์ที่ใช้ได้ เริ่มตั้งแต่ 255.240.0.0 ขึ้นไป
  3. ไอพีส่วนตัว คลาส C เริ่มตั้งแต่ 192.168.0.0 ถึง 192.168.255.255 สับเน็ตมาสต์ที่ใช้ได้ เริ่มตั้งแต่ 255.255.0.0 ขึ้นไป

ไอพีส่วนตัวข้างต้นถูกกำหนดให้ไม่สามารถนำไปใช้งานในเครือข่ายสาธารณะ (Internet)

ส่วน IP สาธารณะมีไว้สำหรับให้แต่ละองค์กร หรือแต่ละบุคคลใช้ในการเชื่อมต่อระบบเครือข่ายเข้าหากัน

จากช่วงของ IPv4 ตั้งแต่ 1.1.1.1 ถึง 255.255.255.255 ถ้าคอมพิวเตอร์ 1 เครื่องใช้หนึ่งหมายเลข เช่น เครื่องผมใช้ 1.1.1.1 เครื่องที่สองใช้ 1.1.1.2 เราก็จะประมาณได้ว่าเราจะมีคอมพิวเตอร์ที่เชื่อมโยงอยู่ในระบบเครือข่ายได้ทั้งหมดประมาณ 232 เครื่องครับ ซึ่งเป็นตัวเลขที่เยอะมาก แต่ก็ยังเยอะไม่พอ เพราะว่า IPv4 ที่แจกจ่ายให้เครื่องคอมพิวเตอร์ทั่วโลกได้กำลังจะหมดลงไปแล้ว

แล้วเราจะทำอย่างไรดี ถ้าเราซื้อเครื่องคอมพิวเตอร์มาแล้วไม่มี IP ให้เราใช้ล่ะ วิธีการที่นักคอมพิวเตอร์แก้ไขก็คือการกำหนดหมายเลข IP ใหม่ขึ้นมาครับ โดย IP ใหม่นี้ถูกเรียกว่า IPv6 (Internet Protocol version 6) ถูกสร้างขึ้นมาเพื่อแก้ปัญหาการขาดแคลน IP โดย IPv6 นี้ใช้ระบบเลข 128 บิต ดังนั้นจึงมีจำนวน IP ได้มากสุดถึง 2128 หมายเลขครับ เยอะมากที่จะพอให้มนุษย์บนโลกนี้ใช้ได้ไปอีกนานเลยทีเดียว

ตัวอย่าง IPv6 ก็จะกำหนดในลักษณะดังนี้ครับ 2001:0db8:85a3:0000:0000:8a2e:0370:7334

ข้อมูลเพิ่มเติม IPv6

Related Posts

สร้างสติ๊กเกอร์ไลน์แนวการ์ตูนชิบิด้วย ChatGPT: เริ่มต้นง่าย ๆ แค่พิมพ์คำสั่ง

ความสามารถของ ChatGPT ในการวาดภาพ ChatGPT ไม่ได้เป็นเพียงแค่โมเดลสนทนาเท่านั้น แต่ในเวอร์ชันล่าสุด (1 เมษายน พ.ศ. 2568) ยังสามารถทำงานร่วมกับระบบสร้างภาพอย่าง DALL·E ได้อีกด้วย โดยผู้ใช้สามารถ พิมพ์คำสั่ง (prompt) เป็นข้อความภาษาไทยหรืออังกฤษ เพื่อให้ระบบวาดภาพตามคำอธิบายได้อย่างแม่นยำและสวยงาม ไม่ว่าจะเป็นภาพสไตล์การ์ตูน, ภาพเหมือนจริง, หรือแม้แต่ภาพแนวชิบิสุดน่ารัก ภาพการ์ตูนแนว Chibi คืออะไร Chibi (ชิบิ) เป็นสไตล์การวาดภาพตัวละครจากญี่ปุ่นที่มีลักษณะเด่นคือ…

อย่าไปอินกับ AI ที่จะทำให้เราสบาย…จนละทิ้งการเรียนรู้และศึกษาเรื่องนั้นอย่างแท้จริง

ชวนคิด…วันนี้ เสนอตอน: อย่าไปอินกับ AI ที่จะทำให้เราสบาย…จนละทิ้งการเรียนรู้และศึกษาเรื่องนั้นอย่างแท้จริง . ผมเป็นคนหนึ่งที่ใช้ AI ช่วยงานเยอะครับ เพราะมันช่วยเบาแรงและลดภาระเราได้จริง ๆ นะ แต่บางเรื่องในบริบทของหน้าที่ครู ผมก็เห็นว่าผลงานบางอย่างครูเป็นผู้เขียนขึ้นมาเองจากกระบวนการคิดการไตร่ตรอง ประสบการณ์ที่สะสมมา จะเป็นประโยชน์และมีคุณค่าสำหรับนักเรียนมากกว่าที่จะให้ AI สร้างงานนั้นให้เรา . รวมไปถึงการมองว่า AI จะทำให้เราสบาย จนละทิ้งแก่นสำคัญของการได้มาซึ่งงานที่มีคุณภาพตามบริบท สภาพแวดล้อม หรือความเหมาะสมสำหรับการพัฒนาคุณภาพการศึกษาของนักเรียนของเราครับ . จากภาพนี้ผมชวนคิดว่า…

AI จะทำให้กระบวนการคิดของเราหายไป (หากใช้อย่างไม่ระวัง)

ใช้ AI ช่วยทำงานโดยไม่มีความรู้เพียงพอหรือมีความรู้ในเรื่องนั้น ๆ ไม่ดีพอ จะก่อให้เกิดความเสียหายในอนาคตแน่นอนครับ (อย่างน้อยก็ความเสียหายด้านกระบวนการคิด) . หลายคนใช้ AI อย่างเต็มประสิทธิภาพแล้ว คงจะเห็นได้ว่าเราสามารถทำงานเคยอาจจะเคยเสียเวลาเป็นวัน ๆ ให้เสร็จได้ภายในไม่กี่นาที แต่กระบวนการนั้น เหมาะกับคนที่เก่งอยู่แล้ว มาใช้ AI เพื่อลดภาระงานครับ . ทำไมผมถึงบอกแบบนั้น เพราะหากเรามีความรู้ในเรื่องที่ให้ AI ช่วยงานไม่ดีพอ ปัญหานี้สะสมไปเรื่อย ๆ เมื่อถึงเวลาต้องเผชิญกับงานที่ซับซ้อนหรือสถานการณ์ที่…

️ เครื่องมือ AI เพื่อครูยุคใหม่: สร้างสื่อ การจัดการเรียนรู้และทำวิจัยอย่างมีประสิทธิภาพ

เอกสารฉบับนี้ผมได้เขียนและเรียบเรียงขึ้นเพื่อให้คุณครูได้ทดลองใช้ AI ในการสร้างสื่อ ประยุกต์ใช้ในการจัดการเรียนการสอน และการทำวิจัยในชั้นเรียน โดยเนื้อหาภายในจะมีตัวอย่างเครื่องมือ AI ที่หลากหลาย ที่ผมได้ทดลองใช้จริงและอยากแบ่งปันต่อให้กับเพื่อนครูครับ ในเอกสารนี้ คุณครูจะได้รู้จักกับเครื่องมือที่น่าสนใจ เช่น Edcafe.ai – ช่วยสร้าง Prompt สำหรับใช้ในการเรียนการสอนได้ง่ายและเร็วClaude.ai – สำหรับสร้างเกมการเรียนรู้แบบอินเทอร์แอคทีฟ สนุกและเข้าใจง่าย Gamma.app – สร้างสไลด์นำเสนอแบบสวยงามอัตโนมัติ ใช้ง่ายและสะดวกมาก ️และยังมี AI Tools…

เอกสาร (presentation) ประกอบการบรรยายการใช้ AI ในการสนับสนุนการจัดการเรียนรู้และสร้างสื่อนวัตกรรม

เอกสารการบรรยาย “AI สู่การพัฒนานวัตกรรมสื่อที่มีคุณภาพ” นี้ ผมได้จัดทำขึ้นเพื่อใช้ในการบรรยายและอบรมเชิงปฏิบัติการ ณ โรงเรียนวิสุทธรังษี จังหวัดกาญจนบุรี ในวันที่ 17–18 มีนาคม 2568 โดยมีเป้าหมายเพื่อให้คุณครูได้เข้าใจแนวทางการนำ AI มาใช้ในการออกแบบสื่อการสอน การจัดกิจกรรมการเรียนรู้ และการสร้างสรรค์นวัตกรรมด้านการศึกษา ในเอกสารนี้ ผมได้รวบรวมเนื้อหาที่สำคัญ เช่น แนะนำเทคโนโลยี Generative AI การนำ AI มาใช้กับการออกแบบหลักสูตรและรูปแบบการประเมิน การสร้างนวัตกรรมด้วยเครื่องมือ…

เรียนคณิตศาสตร์ไปทำไม? ตรรกศาสตร์กับการเขียนโปรแกรมคอมพิวเตอร์

ทุกคนน่าจะเคยเรียนหรือเคยได้ยินกับว่า “ตรรกะ” หรือ “ตรรกศาสตร์” มาแล้วใช่ไหมครับ วันนี้เราจะมาพูดถึงเรื่องนี้กันว่ามีความสำคัญกับการเขียนโปรแกรมคอมพิวเตอร์อย่างไร ซึ่งจริงๆ แล้วเรื่องนี้คือเรื่องในชีวิตประจำวันของเราอยู่แล้ว เราทุกวันเราต้องตัดสินใจบทเงื่อนไขหลาย ๆ แบบด้วยกันใช่ไหมครับ แต่วันนี้ขออนุญาตพูดถึงตรรกศาสตร์กับการเขียนโปรแกรมคอมพิวเตอร์ก่อนนะ ตามนี้เลย… ตรรกศาสตร์ (Logic) เป็นสาขาหนึ่งของคณิตศาสตร์ที่ศึกษาหลักการให้เหตุผลและการคิดอย่างเป็นระบบ ตรรกศาสตร์ช่วยให้เราสามารถวิเคราะห์ข้อเท็จจริง แยกแยะความจริงและความเท็จ และสร้างข้อสรุปที่ถูกต้องตามหลักเหตุผล โดยในหลักสูตรระดับมัธยมศึกษาปีที่ 4 นักเรียนจะได้เรียนรู้เกี่ยวกับตัวเชื่อมตรรกศาสตร์ (Logical Connectors) เช่น และ (AND),…

This Post Has 14 Comments

  1. คอมฯทุกเครื่องสามารถรองรับมาตรฐาน IPV6 มั้ยค่ะ

  2. IPv5 สำรองไว้สำหรับ Stream Protocol เพื่อรับส่งข้อมูลที่เป็นแบบ real-time เท่านั้น และยังไม่มีการใช้งานจริงในทางปฏิบัติ

Leave a Reply

Your email address will not be published. Required fields are marked *

This site uses Akismet to reduce spam. Learn how your comment data is processed.