ชนิดของข้อมูลและตัวแปร

ชนิดของข้อมูล เนื่องจากสถิติบางอย่างไม่สามารถใช้ได้กับข้อมูลทุกชนิด ผู้วิจัยจึงควรทำความรู้จักกับชนิดของข้อมูล โดยชนิดของข้อมูลแบ่งได้เป็น 4 ชนิด ดังนี้

1. ข้อมูลนามบัญญัติ (Nominal data) เป็นข้อมูลที่แบ่งเป็นกลุ่ม ไม่สามารถนำมาคำนวณได้ เช่น เพศ ชนิดโรงเรียน เป็นต้น

2. ข้อมูลเรียงลำดับ (Ordinal data) เป็นข้อมูลที่นอกจากจะจำแนกเป็นกลุ่มได้แล้ว ยังสามารถนำมาเรียงอันดับได้อีกด้วย ได้แก่ ผลการแข่งขัน ระดับความคิดเห็น เป็นต้น

3. ข้อมูลอันตรภาค (Interval data) เป็นข้อมูลที่มีลักษณะเรียงอันดับความมากน้อย ช่วงของความแตกต่างแต่ละช่วงเท่ากัน สามารถนำมาคำนวณได้ แต่ไม่มีศูนย์แท้ เช่น คะแนนสอบ เป็นต้น

4. ข้อมูลอัตราส่วน (Ratio data) เป็นข้อมูลที่เหมือนกับข้อมูลอันตรภาคชั้น แต่มีศูนย์แท้ เช่น ความสูง อายุ น้ำหนัก เป็นต้น

 

ตัวแปร (Variable) หมายถึง สิ่งที่มีค่าเปลี่ยนไป ไม่คงที่ เช่น เพศ อายุ เป็นต้น โดยตัวแปรจัดแบ่งได้เป็น 2 ประเภท ตามลักษณะของตัวแปร ดังนี้

1. ตัวแปรต่อเนื่อง (Continuous data) คือตัวแปรที่มีค่าต่างๆ ต่อเนื่องกันทุกค่า เช่น น้ำหนัก อายุ ความสูง เป็นต้น

2. ตัวแปรไม่ต่อเนื่อง (Discrete data) คือตัวแปรที่มีค่าต่างๆ แยกจากกันโดยเด็ดขาด เช่น เพศ การสอบได้-ตก พรรคการเมือง เป็นต้น

Related Posts

การแจกแจงทางทฤษฎีที่ใช้อนุมานสถิติ

การแจกแจงทางทฤษฎี (Theoretical distribution) ที่ใช้ในอนุมานสถิติบ่อยๆ มีอยู่ 4 ประเภทด้วยกันคือ 1. การแจกแจงแบบโค้งปกติ (Normal distribution) 2. การแจกแจงแบบไคว์สแควร์ (Chi-square distribution) 3. การแจกแจงแบบ F (F-distribution) 4. การแจกแจงแบบ t (t-distrubution) 1. การแจกแจงแบบโค้งปกติ (Normal distribution)…

การวัดการกระจาย

การสรุปลักษณะต่างๆ ของข้อมูลนั้น ใช้การวัดแนวโน้มเข้าสู่ส่วนกลางเพียงอย่างเดียวไม่เพียงพอ จำเป็นที่จะต้องใช้การวัดการกระจายด้วยเพื่อให้ทราบว่าข้อมูลแต่ละชุดมีการกระจายแตกต่างกันอย่างไร โดยมีวิธีการดังนี้ 1. พิสัย (Range) คือความแตกต่างระหว่างข้อมูลที่มีค่าสูงสุดกับข้อมูลที่มีค่าต่ำสุด การจัดการกระจายแบบนี้เป็นการวัดแบบหยาบๆ 2. ค่าเบี่ยงเบนควดไทล์ (Quartile deviation : Q.D.) คือค่าครึ่งหนึ่งของผลต่างระหว่างควอไทล์ที่ 3 กับควอไทล์ที่ 1 ใช้เมื่อข้อมูลนั้นมีการวัดแนวโน้มเข้าสู่ส่วนกลางด้วยค่ามัธยฐาน 3. ค่าเบี่ยงเบนเฉลี่ย (Mean deviation : M.D.)…

การวัดแนวโน้มเข้าสู่ส่วนกลาง

การวัดแนวโน้มเข้าสู่ส่วนกลาง การสรุปลักษณะของข้อมูลโดยทั่วไป จะคำนึงถึงลักษณะ 2 ประการ คือ ค่าที่เป็นตัวแทนของข้อมูลแต่ละชุด และลักษณะการกระจายของข้อมูล โดยการหาค่าสถิติที่ทีเป็นตัวแทนของข้อมูลแต่ละชุด คือ การวัดแนวโน้มสู่ส่วนกลาง โดยมีค่าสถิติที่นิยมใช้ได้แก่ ค่าเฉลี่ย มัธยฐาน และฐานนิยม   ความสัมพันธ์ระหว่างค่าเฉลี่ย มัธยฐานและฐานนิยมในลักษณะการแจกแจงต่างๆ 1. ถ้าข้อมูลมีลักษณะการแจกแจงเป็นโค้งปกติ คือ เป็นโค้งที่มีลักษณะรูประฆัง ค่าเฉลี่ย มัธยฐานและฐานนิยม จะมีค่าเท่ากัน 2. ถ้าข้อมูลมีลักษณะการแจกแจงเบ้ไปทางขวา…

ตำแหน่งเปอร์เซ็นไทล์ เดไซน์และควอไทล์

ตำแหน่งเปอร์เซ็นไทล์ เดไซน์และควอไทล์ ข้อมูลที่รวบรวมมาได้ในแต่ละชุด จะมีลักษณะเฉพาะของตนเอง  ในการที่จะเปรียบเทียบตำแหน่งต่างๆ ของข้อมูลคนละชุดนั้น ควรจะแปลงข้อมูลเหล่านั้นให้อยู่ในลักษณะเดียวกันเสียก่อน สถิติที่ใช้ในการเปรียบเทียบและวัดตำแหน่งต่างๆ ที่จะกล่าวถึงในที่นี้ ได้แก่   ตำแหน่งเปอร์เซ็นไทล์ (Percentile : P) ตำแหน่งเปอร์เซ็นไทล์ หมายถึง ตำแหน่งที่บอกให้ทราบว่ามีข้อมูลอยู่กี่ส่วนจากร้อยส่วนที่มีค่าน้อยกว่าหรือเท่ากับคะแนน ณ ตำแหน่งนั้น เช่น นายยอกสอบได้คะแนนสถิติ 60 คะแนน ซึ่งตรงกับตำแหน่งเปอร์เซ็นไทล์ที่ 70 หมายความว่า…

สถิติวิจัยทางการศึกษา

สถิติ (Statistics) หมายถึง ระเบียบวิธีการทางสถิติ ซึ่งประกอบด้วยการเก็บรวบรวมข้อมูล การนำเสนอข้อมูล การวิเคราะห์ข้อมูลและการแปลความหมายข้อมูล ชนิดของสถิติ แบ่งออกได้เป็น 2 ประเภทใหญ่ๆ ดังนี้ 1. พรรณนาสถิติ (Descriptive Statistics) เป็นสถิติที่มุ่งศึกษาและอธิบายลักษณะต่างๆ ของกลุ่มประชากรเป้าหมาย โดยทำการรวบรวมข้อมูลต่างๆ จากทุกๆ หน่วยของประชากร และวิเคราะห์ แปลความหมายในกลุ่มประชากรนั้นเท่านั้น 2. อนุมานสถิติ (Inferential Statistics)…

ความเที่ยง (Reliability)

ความเที่ยง (Reliability) คือคุณสมบัติของเครื่องมือที่วัดได้ตรงกับความเป็นจริง สามารถวัดได้โดย 1. การวัดความคงที่ (Measure of stability) วิธีนี้ใช้วัดซ้ำโดยให้ผู้สอบกลุ่มเดียวกันสอบข้อสอบชุดเดียวกันสองครั้ง โดยเว้นระยะห่างสองถึงสามสัปดาห์ มีข้อจำกัด คือ ต้องรอเว้นระยะเวลาในการสอบ ซึ่งผู้สอบอาจจะมีโอกาสฝึกหัดเรียนรู้เพิ่มเติม 2. การวัดความเท่ากัน (Measure of equivalence) ใช้ข้อสอบคู่ขนาน วัดกลุ่มเดียวกัน เวลาใกล้เคียงกัน วัดเรื่องเดียวกัน มีความยากง่ายเท่ากัน แต่มีปัญหาคือ สร้างข้อสอบคู่ขนานที่แท้จริงได้ยาก…

This Post Has One Comment

Leave a Reply

Your email address will not be published. Required fields are marked *

This site uses Akismet to reduce spam. Learn how your comment data is processed.