การวิเคราะห์หลักสูตรวิทยาการคำนวณ แนวทางการจัดหลักสูตรและกิจกรรมการเรียนการสอน

วันนี้ขออนุญาตนำเสนอผลการวิเคราะห์หลักสูตร และแนวทางการจัดกิจกรรมการเรียนการสอนวิชาวิทยาการคำนวณ ระดับ ป.1 – ม.3 ครับ เพื่อเป็นแนวทางให้กับโรงเรียนและคุณครูนำไปปรับใช้ในการจัดการเรียนการสอนครับ โดยตอนนี้ผมได้อัดเป็นคลิปวีดีโออธิบายไว้ คุณครูสามารถดูได้จากคลิปวีดิโอ 2 คลิปต่อไปนี้ครับ ขอกำลังใจด้วยการกดไลค์ กดติดตามช่องครูโจ๊กด้วยนะครับ https://www.youtube.com/c/NattaponBuaurai?sub_confirmation=1 และฝากกดติดตามช่องอันนาและพ่อโจ๊กแม่ฝนด้วยนะครับ ขอบคุณครับ https://www.youtube.com/channel/UCOyC1JHOKb-BvtXZuwGxpkw?sub_confirmation=1   สำหรับแนวทางการจัดหลักสูตรตามเอกสารที่นำเสนอ สามารถทำได้ดังนี้ครับ โดยวิชาวิทยาการคำนวณมีเนื้อหาสำคัญ 3 ส่วน ดังนี้ ซึ่งจากการวิเคราะห์หลักสูตร…

การออกแบบ Algorithm (ขั้นตอนวิธี) ด้วย Flowgorithm

องค์ประกอบสำคัญของแนวคิดเชิงคำนวณประการหนึ่งก็คือการออกแบบขั้นตอนวิธี หรือที่เราเรียกว่า Algorithm ครับ ซึ่งวิธีที่ง่ายและเป็นมาตรฐานที่สุดที่จะออกแบบขั้นตอนวิธีการแก้ปัญหาได้นั้นก็คือการวาดเป็นผังงานหรือการเขียน Flowchart นั่นเอง เครื่องมือในการวาด Flowchart มีหลายตัวครับ แต่วันนี้จะมาแนะนำ Flowgoritm ซึ่งความสามารถเด่นๆ ของมันก็คือ เราสามารถรันหรือทดสอบระบบของขั้นตอนวิธีที่เราออกแบบไว้ได้ อีกทั้งยังสามารถแปลงเป็นภาษาโปรแกรมต่างๆ ได้อีกหลายสิบภาษาอีกด้วยครับ วิธีการใช้งานเบื้องต้น สามารถศึกษาได้ตามเอกสารนี้ครับ แต่ถ้าต้องออกแบบขั้นตอนวิธีที่มีการใช้ฟังก์ชันหรือคำสั่งอื่นๆ มากขึ้น เช่น ฟังก์ชันทางคณิตศาสตร์ สามารถศึกษาได้จาก Document ในเว็บไซต์ได้เลยครับผม http://www.flowgorithm.org/documentation/index.htm…

กิจกรรม Unplugged Programming: เลขฐานสอง…มองแปปเดียว

กิจกรรมเลขฐาน…สองแปปเดียว หรือเลขฐานสอง…ไม่ต้องคำนวณ นี้จะช่วยให้นักเรียนสามารถแปลงเลขฐานสองไปเป็นเลขในระบบฐานสิบ หรือเลขฐานสิบไปอยู่ในเลขฐานสองได้อย่างรวดเร็วครับ โดยอาศัยหลักการมองค่าประจำหลัก เช่น เลขฐานสิบจะมีค่าประจำหลักคือ 10,000 1,000 100 10 1 ตามลำดับ ถ้าเรามีเลข 54,321 นั่นก็หมายความว่ามันเกิดจาก 5×10,000 + 4×1,000 + 3×100 + 2×10 + 1×1 = 54,321…

การใช้ Exit Ticket ในการเรียนการสอน

เทคนิค Exit Ticket หรือภาษาไทยใช้ชื่อว่าเทคนิคตั๋วออก เป็นวิธีการหนึ่งที่ใช้ในการตรวจสอบความเข้าใจของนักเรียน และเป็นข้อมูลจากนักเรียนที่ครูสามารถนำมาใช้ในการปรับการเรียนการสอนให้สอดคล้องกับความต้องการของผู้เรียนได้มากยิ่งขึ้นครับ โดยก่อนที่นักเรียนจะออกจากห้องให้นักเรียนทุกคนได้สะท้อนข้อมูลจากการเรียนในคาบนั้นๆ ในประเด็นต่างๆ ซึ่งผมก็วางไว้ 4 ประเด็น คือ 1) ให้สรุปความรู้เรียนในวันนั้น 2) ปัญหาในการเรียนวันนั้น 3) จะนำความรู้ที่เรียนไปประยุกต์ใช้ได้อย่างไร และ 4) นักเรียนอยากรู้อะไรเพิ่มเติมอีก ภาคเรียนนี้ผมจึงได้นำเทคนิคนี้มาใช้ในการจัดการเรียนการสอนรายวิชาวิทยาการคำนวณ ม.4 ด้วย โดยเมื่อนักเรียนได้เรียนจบในคาบนั้นๆ แล้ว 10-15…

วิทยากร : วิทยาการคำนวณ ระดับประถมศึกษา รร.ประชาภิบาล กรุงเทพฯ

เป็นโอกาสอันดีอีกครั้งหนึ่งที่ได้มีโอกาสนำความรู้ ประสบการณ์เกี่ยวกับที่ไปที่มาของหลักสูตรและรายวิชาวิทยาการคำนวณ ไปเผยแพร่ให้กับคุณครูในกรุงเทพมหานครครับ จริงๆ แล้ววิทยาการคำนวณเป็นเรื่องที่ไม่ไกลตัวจากเราเลย มันก็ทักษะที่สำคัญที่นำไปใช้ได้กับทุกอาชีพ ทุกสถานการณ์ เพราะเป็นการเรียนรู้ และฝึกคิดอย่างแยบยล เป็นระบบ และเป็นขั้นตอนครับ คุณครูทั้งสามสิบกว่าคนของโรงเรียนประชาภิบาล ตั้งใจและทำกิจกรรมอย่างเต็มที่มากๆ แม้ว่าบางท่านจะไม่ได้สอนในรายวิชานี้ แต่ทุกท่านก็เห็นความสำคัญว่าความรู้เกี่ยวกับวิชาวิทยาการคำนวณสามารถนำไปสอดแทรกได้กับทุกรายวิชาครับ และก็ต้องขอขอบพระคุณท่านผู้อำนวยการ คุณครูทุกท่านที่ให้การต้อนรับและดูแลเป็นอย่างดี รวมทั้งตั้งใจในการอบรมและเรียนรู้กันมากๆ ครับ

วิทยากร: วิทยาการคำนวณ รร.อนุบาลกระสัง จ.บุรีรัมย์

เป็นโอกาสที่ดีมากๆ ที่ได้รับการเชิญชวนจากพี่นิ ครูที่เคยรู้จักและร่วมกิจกรรม Social Media ของ สทร.​กันเมื่อหลายปีก่อน พี่นิได้เชิญให้ไปบรรยายและจัดกิจกรรม แนะนำการจัดการเรียนการสอนวิชาวิทยาการคำนวณ ให้กับคุณครูโรงเรียนอนุบาลกระสัง และโรงเรียนใกล้เคียงที่สนใจ ของจังหวัดบุรีรัมย์ครับ จากที่ผ่านเวลาการบรรยายและจัดกิจกรรมแนะนำการสอนวิชาวิทยาการคำนวณมาหลายกิจกรรม ครั้งนี้ก็เลยไม่ได้มีความกังวลมาก แต่ก็เตรียมกิจกรรมต่างๆ ไปอย่างดี เพราะเป็นกิจกรรม 2 วันและอยากให้คุณครูทุกท่านได้รับความรู้และสามารถสอนวิชาวิทยาการคำนวณนี้ได้จริงๆ โดยในวันแรกก็จะเป็นการแนะนำรายวิชาใหม่นี้ ที่ไปที่มา หลักสูตร ตัวชี้วัด ให้คุณครูเห็นความสำคัญและใจความหลักของรายวิชา และก็เริ่มต้นแนะนำกิจกรรม Unplugged Programming…

แนวการสอนวิชาวิทยาการคำนวณ ม.ปลาย ปี 2562

หลังจากที่ได้สอนวิชาวิทยาการคำนวณมาแล้ว 1 ปี ซึ่งปีการศึกษา 2561 เป็นปีแรก ก็ได้ทดลองจัดการเรียนการสอน และใช้เครื่องมือต่างๆ สำหรับนักเรียนหลายเครื่องมืออยู่เหมือนกัน แต่ปัญหาก็คือการจัดหลักสูตรในส่วนของโรงเรียนผมเองนั้น ได้รับวิชาพื้นฐานในระดับ ม.ปลาย เพื่อสอนวิชาวิทยาการคำนวณมาเพียง 1.0 หน่วยกิต ซึ่งจัดเป็นรายวิชาวิทยาการคำนวณ ระดับ ม.4 ภาคเรียนที่ 1 ครับ ทำให้มาตรฐาน ว4.1 และ ว4.2 ตชว. ม.5-6…

การอบรม AI for Education

สรุปและรายงานผลการอบรม AI for Education เมื่อวันที่ 20 เม.ย. 2562 ที่จัดโดยมหาวิทยาลัยกรุงเทพ ร่วมกับ สพฐ. ครับ สิ่งที่ได้เรียนรู้ ความหมายและลักษณะของปัญญาประดิษฐ์ การสร้างปัญญาประดิษฐ์ด้วยเครื่องมือออนไลน์ machinelearningforkids.co.uk Machine Learning การใช้ machinelearningforkids.co.uk ในส่วนของ Machine Learning เพื่อนำไปสร้างเป็นปัญญาประดิษฐ์อย่างง่าย เครื่องมือ AI เพิ่มเติม…

หนังสือเรียนและคู่มือครูวิชาเทคโนโลยี (วิทยาการคำนวณ) และวิชาออกแบบและเทคโนโลยี

คู่มือครูวิชาเทคโนโลยี (วิทยาการคำนวณ และ การออกแบบและเทคโนโลยี) ตอนนี้คุณครูสามารถดาวน์โหลดได้แล้วที่หน้าเว็บไซต์ต่อไปนี้ครับ (ต้องสมัครสมาชิกและ Login ก่อนนะครับ) https://www.scimath.org/ebook-technology คู่มือการใช้หลักสูตร เทคโนโลยี (วิทยาการคำนวณ) กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ (ฉบับปรับปรุง พ.ศ.2560) ระดับประถมศึกษา และมัธยมศึกษา คู่มือครู รายวิชาพื้นฐานวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี (วิทยาการคำนวณ) ชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 คู่มือครู รายวิชาพื้นฐานวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี (วิทยาการคำนวณ)…

รายการพุธเช้าข่าวโรงเรียน นำเสนอการจัดการเรียนการวิชาวิทยาการคำนวณ

ภาพและวีดีโอนำเสนอการจัดการเรียนการสอนวิชาวิทยาการคำนวณ ออกอากาศในรายการพุธเช้าข่าวโรงเรียน วันที่ 20 กุมภาพันธ์ 2562 ครับ