คู่มือการใช้งาน Social Media

คู่มือการอบรม Social Media ดาวน์โหลดเอกสาร คลิกที่นี่ View more documents from Nattapon

งานวิจัย: การประเมินโครงการตลาดนัดอาชีพ ปี 2554

งานวิจัยเรื่องการติดตามและประเมินโครงการส่งเสริมรายได้ระหว่างเรียน : กิจกรรมตลาดนัดอาชีพ ของโรงเรียนเตรียมอุดมศึกษาพัฒนาการ ลำลูกกา เป็นการติดตามและประเมินผลการดำเนินงานกิจกรรมตลาดนัดอาชีพ โดยมีวัตถุประสงค์ของการประเมินคือ 1. เพื่อศึกษาแนวคิดและประสบการณ์ในการประกอบอาชีพหลักหรืออาชีพเสริมในอนาคตของนักเรียน 2. เพื่อประเมินกระบวนการหลักการบริหารจัดการร้านของนักเรียน 3. เพื่อประเมินคุณลักษณะของนักเรียนในด้านการประกอบอาชีพ การติดตามและประเมินโครงการส่งเสริมรายได้ระหว่างเรียน from Nattapon

วิทยากร : โครงการพัฒนาครูการงานฯ โรงเรียนในฝัน ปี 2554

เป็นอีกครั้งหนึ่งที่ได้ทำงานเป็นวิทยากรให้กับโรงเรียนเตรียมอุดมศึกษาพัฒนาการ ลำลูกกา โรงเรียนต้นสังกัด ซึ่งปีที่แล้วก็ได้เป็นวิทยากรในการอบรมครูโรงเรียนในฝัน รุ่น 1,2 และ 3 เกี่ยวกับการพัฒนาเว็บประเภท e-commerce พอมาปีนี้ก็ได้ทำงานช่วยโรงเรียนอีก แต่โปรแกรมต่างไปจากเดิมครับ ปีนี้มี 2 เรื่อง คือ โครงงานอาชีพและ mini company ซึ่งให้ทุกโรงเรียนสร้างผลิตภัณฑ์ของตนเอง เป็นอัตลักษณ์ของตนเอง และนำเสนอผลเว็บไซต์ www.osop-labschools.com ซึ่งเป็นเว็บส่วนกลางที่รวบรวมผลงานของทุกโรงเรียนทั่วประเทศ แต่การอบรมทั้ง 2 รายการข้างต้นมีเนื้อหาไม่ยากนัก…

ประกวดเดินสวนสนามลูกเสือระดับเขต

รู้สึกว่าช่วงนี้ดวงจะผูกพันกับกิจการลูกเสือมากเป็นพิเศษ เพราะมีกิจกรรมหลายอย่างที่ทำเกี่ยวกับลูกเสือครับ อันที่จริงก็ไม่ค่อยชอบเท่าไหร่นะ ด้วยเรื่องเสื้อผ้าเครื่องแต่งกายที่เยอะแยะมากมายซะเหลือเกิน แถมยังต้องใส่กางเกงขาสั้นซะอีกต่างหาก แต่พอได้เข้าร่วมกิจกรรมหลายๆ อย่าง (ที่ ผอ. ให้เข้า) ก็รู้สึกสนุกกับกิจกรรมนี้ครับ เหมือนกับเราได้ผจญภัย และเป็นการฝึกวินัยในตนเองได้มากเลยทีเดียว และกิจกรรมล่าสุดที่ได้เข้าร่วมและรู้สึกว่าต้องรับผิดชอบเป็นอย่างมาก ก็คือการแข่งขันประกวดการเดินสวนสนามลูกเสือครับ ซึ่งแข่งไปเมื่อวันที่ 20 มิถุนายน 2554 ที่ผ่านมา เป็นการแข่งขันระดับเขตพื้นที่การศึกษา (ปทุมธานี เขต 2) ครั้งนี้เป็นการเดินสวนสนามที่เป็นการแข่งขันครั้งแรกของผมเลย เพราะปกติทุกปีจะเป็นการเดินในวันที่ 1…

อบรมวิทยากรแกนนำลูกเสือไซเบอร์

ได้มีโอกาสเข้าร่วมโครงการสร้างลูกเสือบนเครือข่ายอินเทอร์เน็ต เพื่อสร้างวิทยากรแกนนำลูกเสือไซเบอร์ ในวันที่ 6-7 มิถุนายน 2554 ที่ผ่านมา ที่มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ศูนย์รังสิต ครับ โดยโครงการนี้จัดโดยกระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร จุดประสงค์ของโครงการก็คือสร้างวิทยากรแกนนำเพื่อนำความรู้ไปขยายผลต่อให้กับนักเรียนและบุคคลในองค์กร เกี่ยวกับการใช้งานเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารอย่างปลอดภัย และเป็นหูเป็นตาให้กับรัฐในการช่วยสอดส่องดูแลภัยอันตรายและเฝ้าระวังข้อมูลข่าวสารที่เป็นภัยต่อสถาบันและความมั่นคงของประเทศ สำหรับการเข้าร่วมโครงการนี้ถือได้ว่าได้รับความรู้ใหม่ๆ เป็นอย่างมาก โดยเฉพาะเกี่ยวกับภัยต่างๆ บนอินเทอร์เน็ต และ พ.ร.บ. ว่าด้วยการกระทำความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ พ.ศ. 2550 ครับ อีกทั้งยังได้รู้จักคุณครูภาคกลางร้อยกว่าท่านที่มาร่วมเข้ารับการอบรมในครั้งนี้

การแจกแจงทางทฤษฎีที่ใช้อนุมานสถิติ

การแจกแจงทางทฤษฎี (Theoretical distribution) ที่ใช้ในอนุมานสถิติบ่อยๆ มีอยู่ 4 ประเภทด้วยกันคือ 1. การแจกแจงแบบโค้งปกติ (Normal distribution) 2. การแจกแจงแบบไคว์สแควร์ (Chi-square distribution) 3. การแจกแจงแบบ F (F-distribution) 4. การแจกแจงแบบ t (t-distrubution) 1. การแจกแจงแบบโค้งปกติ (Normal distribution)…

การวัดการกระจาย

การสรุปลักษณะต่างๆ ของข้อมูลนั้น ใช้การวัดแนวโน้มเข้าสู่ส่วนกลางเพียงอย่างเดียวไม่เพียงพอ จำเป็นที่จะต้องใช้การวัดการกระจายด้วยเพื่อให้ทราบว่าข้อมูลแต่ละชุดมีการกระจายแตกต่างกันอย่างไร โดยมีวิธีการดังนี้ 1. พิสัย (Range) คือความแตกต่างระหว่างข้อมูลที่มีค่าสูงสุดกับข้อมูลที่มีค่าต่ำสุด การจัดการกระจายแบบนี้เป็นการวัดแบบหยาบๆ 2. ค่าเบี่ยงเบนควดไทล์ (Quartile deviation : Q.D.) คือค่าครึ่งหนึ่งของผลต่างระหว่างควอไทล์ที่ 3 กับควอไทล์ที่ 1 ใช้เมื่อข้อมูลนั้นมีการวัดแนวโน้มเข้าสู่ส่วนกลางด้วยค่ามัธยฐาน 3. ค่าเบี่ยงเบนเฉลี่ย (Mean deviation : M.D.)…

การวัดแนวโน้มเข้าสู่ส่วนกลาง

การวัดแนวโน้มเข้าสู่ส่วนกลาง การสรุปลักษณะของข้อมูลโดยทั่วไป จะคำนึงถึงลักษณะ 2 ประการ คือ ค่าที่เป็นตัวแทนของข้อมูลแต่ละชุด และลักษณะการกระจายของข้อมูล โดยการหาค่าสถิติที่ทีเป็นตัวแทนของข้อมูลแต่ละชุด คือ การวัดแนวโน้มสู่ส่วนกลาง โดยมีค่าสถิติที่นิยมใช้ได้แก่ ค่าเฉลี่ย มัธยฐาน และฐานนิยม   ความสัมพันธ์ระหว่างค่าเฉลี่ย มัธยฐานและฐานนิยมในลักษณะการแจกแจงต่างๆ 1. ถ้าข้อมูลมีลักษณะการแจกแจงเป็นโค้งปกติ คือ เป็นโค้งที่มีลักษณะรูประฆัง ค่าเฉลี่ย มัธยฐานและฐานนิยม จะมีค่าเท่ากัน 2. ถ้าข้อมูลมีลักษณะการแจกแจงเบ้ไปทางขวา…

ตำแหน่งเปอร์เซ็นไทล์ เดไซน์และควอไทล์

ตำแหน่งเปอร์เซ็นไทล์ เดไซน์และควอไทล์ ข้อมูลที่รวบรวมมาได้ในแต่ละชุด จะมีลักษณะเฉพาะของตนเอง  ในการที่จะเปรียบเทียบตำแหน่งต่างๆ ของข้อมูลคนละชุดนั้น ควรจะแปลงข้อมูลเหล่านั้นให้อยู่ในลักษณะเดียวกันเสียก่อน สถิติที่ใช้ในการเปรียบเทียบและวัดตำแหน่งต่างๆ ที่จะกล่าวถึงในที่นี้ ได้แก่   ตำแหน่งเปอร์เซ็นไทล์ (Percentile : P) ตำแหน่งเปอร์เซ็นไทล์ หมายถึง ตำแหน่งที่บอกให้ทราบว่ามีข้อมูลอยู่กี่ส่วนจากร้อยส่วนที่มีค่าน้อยกว่าหรือเท่ากับคะแนน ณ ตำแหน่งนั้น เช่น นายยอกสอบได้คะแนนสถิติ 60 คะแนน ซึ่งตรงกับตำแหน่งเปอร์เซ็นไทล์ที่ 70 หมายความว่า…

ชนิดของข้อมูลและตัวแปร

ชนิดของข้อมูล เนื่องจากสถิติบางอย่างไม่สามารถใช้ได้กับข้อมูลทุกชนิด ผู้วิจัยจึงควรทำความรู้จักกับชนิดของข้อมูล โดยชนิดของข้อมูลแบ่งได้เป็น 4 ชนิด ดังนี้ 1. ข้อมูลนามบัญญัติ (Nominal data) เป็นข้อมูลที่แบ่งเป็นกลุ่ม ไม่สามารถนำมาคำนวณได้ เช่น เพศ ชนิดโรงเรียน เป็นต้น 2. ข้อมูลเรียงลำดับ (Ordinal data) เป็นข้อมูลที่นอกจากจะจำแนกเป็นกลุ่มได้แล้ว ยังสามารถนำมาเรียงอันดับได้อีกด้วย ได้แก่ ผลการแข่งขัน ระดับความคิดเห็น เป็นต้น…