มาทำความรู้จัก Gistda อุทยานรังสรรค์นวัตกรรมอวกาศ กันครับ

สามวันนี้พานักเรียนมาแข่งขันที่ GISTDA ครับ ก็เป็นหน่วยงานที่สำคัญหน่วยงานหนึ่งของประเทศ ที่ผมก็เพิ่งจะได้ยินชื่อและรู้จักเหมือนกัน ด้วยความที่ที่นี่มีความน่าสนใจเป็นอย่างมาก ก็เลยจะมาเล่าให้ฟังรวมทั้งเด็กๆ จะได้ประสบการณ์ใหม่ๆ ด้วยครับ
 
GISTDA ชื่อไทยก็คือ สำนักพัฒนาเทคโนโลยีอวกาศและภูมิสารสนเทศ ขึ้นตรงกับกระทรวงวิทย์ฯ ครับ หน้าที่สำคัญของที่นี่เลยก็คือการควบคุมดาวเทียมที่ชื่อว่าไทยโชต หรือ ธีออส ครับ ซึ่งเป็นดาวเทียมสำหรับสำรวจทรัพยากรและอื่นๆ (รวมทั้งการทหารด้วย)
 
ในนี้ก็จะมีหน่วยงานที่สำคัญ ได้แก่
1. สำนักพัฒนาอุทยารังสรรค์นวัตกรรมอวกาศ ทำหน้าที่ประสานงานและวิจัยผลักดันด้านอุตสาหกรรมการบินและอวกาศของประเทศ
2. สำนักปฏิบัติการดาวเทียม จะทำหน้าที่ควบคุมดาวเทียมไทยโชต หรือธีออส (ไทยโชต ได้รับพระราชทานชื่อจากรัชกาลที่ 9) ซึ่งเป็นภารกิจหลักของที่นี่ และเป็นศูนย์กลางด้านภูมิสารสนเทศครับ
3. อาคารศูนย์ภูมิสารสนเทศสิรินธร ใช้พัฒนาบุคลากรด้านภูมิสารสนเทศ ฝึกอบรม (และเป็นสถานที่แข่งขันในครั้งนี้ด้วย)
4. Space Inspirium หรือพื้นที่สร้างแรงบันดาลใจ (มาจากคำว่า Inspiration + Museum) ส่วนนี้ก็คือพิพิธภัณฑ์นั่นเองครับที่ทุกคนสามารถเข้ามาศึกษาเรียนรู้เกี่ยวกับอวกาศ เทคโนโลยีอวกาศได้ (ค่าเข้านักเรียน 20 ผู้ใหญ่ 50) ซึ่งเป็นจุดที่เรียกได้ว่าสามารถสร้างแรงบันดาลใจให้กับนักเรียนที่เข้ามา และอยากจะเป็นนักบินอวกาศหรืออยากจะทำงานได้นี้ได้ดีจริงๆ
 
สิ่งที่ผมอยากจะบอกหรือทุกคนอยากจะรู้ก็คือ อยากทำงานที่นี่จะต้องทำอย่างไร เรียนอะไร ใช่มั๊ยครับ
 
หลังจากได้เดินเยี่ยมชม แล้วก็สอบถามทางผู้บริหาร ผู้ดูแล และเจ้าหน้าที่ปฏิบัติการที่นี่ ยอมรับว่าที่นี่น่าทำงานจริงๆ เจ้าหน้าที่ปฏิบัติการส่วนใหญ่ก็จะจบทางด้านวิศวะครับ ไม่ว่าจะเป็นวิศวกรรมการบิน คอมพิวเตอร์ โยธา ผังเมืองฯลฯ แต่ถ้าเป็นเจ้าหน้าที่สำนักงานก็มีนะครับ (มีทุกองค์กร) ได้แก่ ธุรการ บัญชี เป็นต้น
 
ดังนั้นสิ่งที่ผมอยากจะบอกก็คือ เรียนวิศวคอมพิวเตอร์ วิทยากรคอมพิวเตอร์ มันมีงานรองรับหลายด้านครับ อย่าคิดว่ามีแค่สร้างเว็บ สร้างโปรแกรมกันอย่างเดียวเนอะ ถ้าอยากทำงานด้านนี้ก็ลองมาศึกษาเรียนรู้จากที่นี่กันก่อนได้ครับ
 
GISTDA จะอยู่ที่ อ.ศรีราชา ชลบุรี ลงมอเตอร์เวย์เข้าเส้นแหลมฉบัง ก่อนถึงแยกสุขุมวิทย์ อยู่ด้านซ้ายครับ
 
วันนี้ได้เดินเที่ยวดูสำนักงาน มาดูห้องสำนักงานควบคุมดาวเทียมกันครับ ว่าน่าทำงานมั๊ย?

Related Posts

Upskill : รู้ทัน AI เพื่อยกระดับการจัดการเรียนรู้อย่างเท่าทันเทคโนโลยี

ถึงเวลาแล้วที่ครูจะต้องรู้ทันเทคโนโลยีครับ แม้ว่าเราจะไม่ได้ใช้มันอย่างเต็มที่ แต่การรู้เท่าทันก็จะทำให้ครูปรับตัวตามการเรียนรู้ของนักเรียนได้ครับ เพราะทุกครั้งที่คุณครูมอบหมายงานทุกวันนี้ เด็กๆ ก็อาจจะใช้ AI ช่วยในการทำงานแล้วก็ได้ ดังนั้นการรู้เท่าทันหรือนำ AI ไปปรับใช้ได้ก็จะเป็นประโยชน์ต่อการสอนแน่นอนครับ เอกสารที่ผมใช้ในการบรรยายเรื่อง Upskill : รู้ทัน AI เพื่อยกระดับการจัดการเรียนรู้อย่างเท่าทันเทคโนโลยี ของโรงเรียนสวนกุหลาบวิทยาลัย รังสิต มีดังนี้ครับ อบรม AI โดย ณัฐพล บัวอุไร

แผนการจัดการเรียนรู้วิชาวิทยาการคำนวณ ม.4 (มัดรวม ตชว.ม.4 ม.5 และ ม.6)

แผนกาารจัดการเรียนรู้ (แผนการสอน) วิชาวิทยาการคำนวณ ม.ปลาย แบบมัดรวมตัวชี้วัดตามมาตรฐาน ว 4.2 ม.4-6 มาในวิชาเดียวครับ เพื่อให้สามารถจบหลักสูตรได้ในเทอมเดียว เป็นแผนที่ผมสอนจริงตามนี้ครับ แต่อาจจะสอนไม่ทันในบางเรื่องนะ ก็ใช้วิธีการรวบเนื้อหาเอา … เหตุที่ต้องจัดแบบนี้เพราะหน่วยกิตวิชาพื้นฐานระดับชั้นมัธยมศึกษาตอนปลาย ของรายวิชาเทคโนโลยีของผมนั้นได้มา 1.5 หน่วยกิต โดยผมแบ่ง 1.0 หน่วยกิตมาเป็นวิชาวิทยาการคำนวณ สอนในระดับ ม.4 ภาคเรียนที่ 1 (2 คาบ/สัปดาห์)…

แผนการจัดการเรียนรู้วิชาการออกแบบและเทคโนโลยี ม.4 (ตชว.ม.4 และ ม.5)

แผนการจัดการเรียนรู้วิชาการออกแบบและเทคโนโลยี ม.4 จัดทำโดยครูณัฐพล บัวอุไร เป็นแผนการจัดการเรียนรู้ที่รวมเอาตัวชี้วัด ม.4 และ ม.5 ของมาตรฐาน ว 4.1 (การออกแบบและเทคโนโลยี) มาเขียนไว้ในแผนการจัดการเรียนรู้เดียว เนื่องจากโรงเรียนจัดหน่วยกิตวิชาพื้นฐานสำหรับจัดการเรียนการสอนวิชานี้เพียง 0.5 หน่วยกิตครับ และจัดไว้ในระดับชั้น ม.4 ครับ (สำหรับวิทยาการคำนวณ จัดวิชาพื้นฐานไว้ในระดับ ม.4 ภาคเรียนที่ 1 จำนวน 1 หน่วยกิต)…

การอบรมเชิงปฏิบัติการ “การพัฒนาระบบอัตโนมัติและ IoT ด้วยบอร์ด ESP32 โรงเรียนรัตนาธิเบศร์”

สำหรับวันนี้…ได้รับเกียรติจากเพื่อนครู คณะครู และคณะผู้บริหารของโรงเรียนรัตนาธิเบศร์ ให้ไปจัดการอบรมเชิงปฏิบัติการ “การพัฒนาระบบอัตโนมัติและ IoT ด้วยบอร์ด ESP32” ครับ … ซึ่งก็รู้สึกยินดีเป็นอย่างยิ่ง เพราะจะได้สอนเกี่ยวกับเทคโนโลยีและการพัฒนาระบบอัตโนมัติให้กับนักเรียนกลุ่มนี้ ซึ่งก็คือนักเรียนห้องเรียนพิเศษ ม.1 และ ม.4 ครับ … แม้ว่าจะมีน้อง ม.1 เข้าร่วมกิจกรรมการอบรมเขียนโปรแกรมครั้งนี้ด้วย แต่ก็ต้องบอกว่าสามารถเรียนรู้และปฏิบัติได้ไม่แพ้พี่ ม.4 เลยทีเดียว … วันนี้ผมก็เลยขอนำเอกสารการอบรมมาเผยแพร่ให้ผู้ที่สนใจได้นำไปปรับใช้หรือนำไปใช้สอนนักเรียนครับ ตามลิงก์ที่ให้ไว้นี้เลย…

เอกสารประกอบการอบรม ESP32 (ระบบอัตโนมัติ, Line Notify, MQTT, Blynk)

เอกสารการอบรมนี้ผมจัดทำขึ้นเพื่อใช้อบรมให้ความรู้นักเรียนครับ คุณครูสามารถนำไปปรับใช้ หรือนำไปทดลองใช้ได้ครับ มีตัวอย่างตั้งแต่ระบบอัตโนมัติแบบง่าย ๆ ไปจนถึงการพัฒนาระบบ IoT เบื้องต้น ดังนี้ครับ ESP32 โดย ณัฐพล บัวอุไร

โทรศัพท์เครื่องแรกของอันนา กับการเรียนรู้การอดทนต่อการเก็บเงิน

ที่มาของการเก็บเงินซื้อ iPhone13 ของอันนา… … คงต้องเล่าย้อนกลับไปไกลนิดนึง ก็ตั้งแต่อันนาเริ่มเข้าอนุบาลครับ อันนาเป็นเด็กที่ไม่ค่อยชอบไปเรียน เข้ากับเพื่อนไม่ค่อยเก่ง ไม่ค่อยเริ่มคุยกับใครก่อน ในช่วงแรกของการไปโรงเรียนอันนาจะมีอาการอาเจียนทุกวันในตอนเช้า อาจจะด้วยอาการเครียด ข้าวก็กินไม่ได้ … พ่อกับแม่ก็ไม่รู้จะทำอย่างไร จะสร้างแรงจูงใจอย่างไรดี ถามคุณครูแล้วก็ไม่ได้มีปัญหาอะไรกับการเรียน แต่พ่อกับแม่ก็พอรู้ว่าอันนาไม่ชอบไปโรงเรียนเพราะการอยู่บ้านกับพ่อแม่สบายกว่าเยอะ 55 … ดังนั้นจึงเป็นจุดเริ่มต้น (ที่อาจจะไม่ดีเท่าไหร่) คือการตกลงกันกับอันนาว่าจะให้ของรางวัลคนเก่งทุกสัปดาห์ที่อันนาไปเรียนครบ ซึ่งอันนาก็พยายามทำ พยายามอดทนในการไปเรียนพอสมควร และก็ดีขึ้นเรื่อย ๆ (ก่อนที่โควิดจะมา)…

Leave a Reply

Your email address will not be published. Required fields are marked *

This site uses Akismet to reduce spam. Learn how your comment data is processed.