การสร้าง Machine Learning อย่างง่ายเพื่อนำไปใช้กับ AI

ปัญญาประดิษฐ์ หรือ AI นั้น เกิดจากการที่เครื่องจักรนั้นมีสมองที่ฉลาด สามารถทำงานได้ถูกต้อง แม่นยำตามที่ต้องการ ซึ่งก่อนที่จะเกิดเป็นปัญญาประดิษฐ์ ผู้พัฒนาปัญญาประดิษฐ์จะต้องพัฒนาส่วนที่เรียกว่าสมองก่อน นั่นก็คือโมเดล และโมเดลนั้นก็เกิดจากการเรียนรู้ของเครื่องที่เรียกว่า Machine Learning ครับ

สรุปง่ายๆ สั้นๆ ก็คือจะเกิด AI เราต้องทำ Machine Learning เพื่อให้คอมพิวเตอร์เรียนรู้สิ่งที่ต่างๆ จนมันฉลาดเสียก่อนนั่นเอง

การดึงข้อมูลที่ต้องการจากเว็บไซต์ด้วยภาษาไพทอน (Data Science) วิทยาการคำนวณ ม.5

ในวิชาวิทยาการคำนวณ ม.5 มีตัวชี้วัดวิทยาการคำนวณ หรือ ว.4.2 อยู่เพียงข้อเดียวครับ ว4.2 ม.5/1 รวบรวม วิเคราะห์ข้อมูล และใช้ความรู้ด้านวิทยาการคอมพิวเตอร์ สื่อดิจิทัล เทคโนโลยีสารสนเทศในการแก้ปัญหาหรือเพิ่มมูลค่าให้กับบริการหรือผลิตภัณฑ์ที่ใช้ในชีวิตจริงอย่างสร้างสรรค์ ซึ่งพูดง่ายๆ ก็คือนักเรียนจะต้องรวบรวมข้อมูลมาวิเคราะห์และนำเสนอเพื่อให้ผู้อ่านเข้าใจได้ทันทีว่าข้อมูลเหล่านั้นหมายถึงอะไร พร้อมกับนำไปแก้ปัญหาหรือเพิ่มมูลค่ากับสิ่งที่ต้องการได้ครับ สำหรับผมแล้วการวิเคราะห์ข้อมูลหรือประมวลผลนั้นไม่ค่อยยากเท่าไหร่ เพราะเรามีโปรแกรมช่วยเยอะ ทั้ง Excel SPSS หรือ Tableau ครับ แต่กระบวนการในการได้มาซึ่งข้อมูลที่ต้องการนั้นเป็นสิ่งสำคัญ เช่น ถ้าเราต้องการถึงข้อมูลจำนวนมากจากเว็บไซต์หนึ่ง…

การใช้ Elabsheet.org ในการสร้างโจทย์โปรแกรมภาษาไพทอนและตรวจให้อัตโนมัติ

เอกสารแนะนำการใช้ Elabsheet.org ในการสร้างโจทย์โปรแกรมภาษาไพทอนและตรวจให้อัตโนมัติ ฉบับนี้สร้างขึ้นเพื่อให้คุณครูที่ต้องการความสะดวกในการสอนภาษาโปรแกรมและมีระบบตรวจให้อัตโนมัติ โดยที่คุณครูไม่ต้องโหลดโปรแกรมนักเรียนมารันทุกครั้งครับ ระบบ elabsheet.org นี้เป็นของคณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ต้องขอขอบคุณทางคณะวิศวกรรมศาสตร์มากจริงๆ เพราะทำให้ผมสอนไพทอนและสอนวิชาคอมพิวเตอร์โอลิมปิก(ภาษาซี) สร้างโจทย์และมีระบบตรวจทำให้ชีวิตสบายขึ้นมากครับ หากคุณครูสอนวิชาเหล่านี้ และต้องการใช้งาน elabsheet.org สามารถศึกษาวิธีการใช้งานได้จากเอกสารที่ผมจัดทำไว้ต่อไปนี้ได้เลยครับ โดยลิงค์ที่คุณครูสามารถแก้ไขหรือนำไปปรับใช้ได้มีดังนี้ครับผม   โปรแกรมหาค่าความยาวด้านตรงข้ามมุมฉาก ลิงค์ครู(แก้ไขได้) : https://elabsheet.org/elab/taskpads/change/x83g3gtyeg/koeg5pjw1t/ ลิงค์สำหรับผู้ใช้ : https://elabsheet.org/elab/taskpads/show/x83g3gtyeg/   โปรแกรมตรวจสอบชนิดของเลขจำนวนเต็ม…

การอบรมครูแกนนำวิทยาการคำนวณ (Data Science)

การอบรมครูผู้นำวิวทยาการคำนวณที่สอนในสาระเทคโนโลยี (วิทยาการคำนวณ) จัดโดยสถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี (สสวท.) ระหว่างวันที่ 21-24 มิถุนายน พ.ศ.​2562 ณ โรงแรมรอยัลเบญจา กรุงเทพฯ ครับ หนังสือเชิญเข้าอบรม http://www.nattapon.com/wp-content/uploads/2019/06/2_กำหนดการ.pdf

การอบรมครูวิทยาการคำนวณสำหรับครู สพป.ปทุมธานี เขต 2

ชมรมครูวิทยาศาสตร์ สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษา ปทมธานี เขต 2 จัดการอบรมแนวทางการจัดการเรียนการสอนวิชาวิทยาการคำนวณ สำหรับครูในเขตพื้นที่ ณ โรงเรียนคลองบ้านพร้าว วันที่ 15 มิถุนายน 2562 ครับ

การวิเคราะห์หลักสูตรวิทยาการคำนวณ แนวทางการจัดหลักสูตรและกิจกรรมการเรียนการสอน

วันนี้ขออนุญาตนำเสนอผลการวิเคราะห์หลักสูตร และแนวทางการจัดกิจกรรมการเรียนการสอนวิชาวิทยาการคำนวณ ระดับ ป.1 – ม.3 ครับ เพื่อเป็นแนวทางให้กับโรงเรียนและคุณครูนำไปปรับใช้ในการจัดการเรียนการสอนครับ โดยตอนนี้ผมได้อัดเป็นคลิปวีดีโออธิบายไว้ คุณครูสามารถดูได้จากคลิปวีดิโอ 2 คลิปต่อไปนี้ครับ ขอกำลังใจด้วยการกดไลค์ กดติดตามช่องครูโจ๊กด้วยนะครับ https://www.youtube.com/c/NattaponBuaurai?sub_confirmation=1 และฝากกดติดตามช่องอันนาและพ่อโจ๊กแม่ฝนด้วยนะครับ ขอบคุณครับ https://www.youtube.com/channel/UCOyC1JHOKb-BvtXZuwGxpkw?sub_confirmation=1   สำหรับแนวทางการจัดหลักสูตรตามเอกสารที่นำเสนอ สามารถทำได้ดังนี้ครับ โดยวิชาวิทยาการคำนวณมีเนื้อหาสำคัญ 3 ส่วน ดังนี้ ซึ่งจากการวิเคราะห์หลักสูตร…

กิจกรรม Unplugged Programming: เลขฐานสอง…มองแปปเดียว

กิจกรรมเลขฐาน…สองแปปเดียว หรือเลขฐานสอง…ไม่ต้องคำนวณ นี้จะช่วยให้นักเรียนสามารถแปลงเลขฐานสองไปเป็นเลขในระบบฐานสิบ หรือเลขฐานสิบไปอยู่ในเลขฐานสองได้อย่างรวดเร็วครับ โดยอาศัยหลักการมองค่าประจำหลัก เช่น เลขฐานสิบจะมีค่าประจำหลักคือ 10,000 1,000 100 10 1 ตามลำดับ ถ้าเรามีเลข 54,321 นั่นก็หมายความว่ามันเกิดจาก 5×10,000 + 4×1,000 + 3×100 + 2×10 + 1×1 = 54,321…

วิทยากร : วิทยาการคำนวณ ระดับประถมศึกษา รร.ประชาภิบาล กรุงเทพฯ

เป็นโอกาสอันดีอีกครั้งหนึ่งที่ได้มีโอกาสนำความรู้ ประสบการณ์เกี่ยวกับที่ไปที่มาของหลักสูตรและรายวิชาวิทยาการคำนวณ ไปเผยแพร่ให้กับคุณครูในกรุงเทพมหานครครับ จริงๆ แล้ววิทยาการคำนวณเป็นเรื่องที่ไม่ไกลตัวจากเราเลย มันก็ทักษะที่สำคัญที่นำไปใช้ได้กับทุกอาชีพ ทุกสถานการณ์ เพราะเป็นการเรียนรู้ และฝึกคิดอย่างแยบยล เป็นระบบ และเป็นขั้นตอนครับ คุณครูทั้งสามสิบกว่าคนของโรงเรียนประชาภิบาล ตั้งใจและทำกิจกรรมอย่างเต็มที่มากๆ แม้ว่าบางท่านจะไม่ได้สอนในรายวิชานี้ แต่ทุกท่านก็เห็นความสำคัญว่าความรู้เกี่ยวกับวิชาวิทยาการคำนวณสามารถนำไปสอดแทรกได้กับทุกรายวิชาครับ และก็ต้องขอขอบพระคุณท่านผู้อำนวยการ คุณครูทุกท่านที่ให้การต้อนรับและดูแลเป็นอย่างดี รวมทั้งตั้งใจในการอบรมและเรียนรู้กันมากๆ ครับ

วิทยากร: วิทยาการคำนวณ รร.อนุบาลกระสัง จ.บุรีรัมย์

เป็นโอกาสที่ดีมากๆ ที่ได้รับการเชิญชวนจากพี่นิ ครูที่เคยรู้จักและร่วมกิจกรรม Social Media ของ สทร.​กันเมื่อหลายปีก่อน พี่นิได้เชิญให้ไปบรรยายและจัดกิจกรรม แนะนำการจัดการเรียนการสอนวิชาวิทยาการคำนวณ ให้กับคุณครูโรงเรียนอนุบาลกระสัง และโรงเรียนใกล้เคียงที่สนใจ ของจังหวัดบุรีรัมย์ครับ จากที่ผ่านเวลาการบรรยายและจัดกิจกรรมแนะนำการสอนวิชาวิทยาการคำนวณมาหลายกิจกรรม ครั้งนี้ก็เลยไม่ได้มีความกังวลมาก แต่ก็เตรียมกิจกรรมต่างๆ ไปอย่างดี เพราะเป็นกิจกรรม 2 วันและอยากให้คุณครูทุกท่านได้รับความรู้และสามารถสอนวิชาวิทยาการคำนวณนี้ได้จริงๆ โดยในวันแรกก็จะเป็นการแนะนำรายวิชาใหม่นี้ ที่ไปที่มา หลักสูตร ตัวชี้วัด ให้คุณครูเห็นความสำคัญและใจความหลักของรายวิชา และก็เริ่มต้นแนะนำกิจกรรม Unplugged Programming…

แนวการสอนวิชาวิทยาการคำนวณ ม.ปลาย ปี 2562

หลังจากที่ได้สอนวิชาวิทยาการคำนวณมาแล้ว 1 ปี ซึ่งปีการศึกษา 2561 เป็นปีแรก ก็ได้ทดลองจัดการเรียนการสอน และใช้เครื่องมือต่างๆ สำหรับนักเรียนหลายเครื่องมืออยู่เหมือนกัน แต่ปัญหาก็คือการจัดหลักสูตรในส่วนของโรงเรียนผมเองนั้น ได้รับวิชาพื้นฐานในระดับ ม.ปลาย เพื่อสอนวิชาวิทยาการคำนวณมาเพียง 1.0 หน่วยกิต ซึ่งจัดเป็นรายวิชาวิทยาการคำนวณ ระดับ ม.4 ภาคเรียนที่ 1 ครับ ทำให้มาตรฐาน ว4.1 และ ว4.2 ตชว. ม.5-6…