python วันละข้อ || สามเหลี่ยมมุมฉากหรือเปล่านะ?

หลังจากที่เราได้ลองเขียนโปรแกรมที่มีการตัดสินใจตามเงื่อนไขที่กำหนด โดยการใช้คำสั่ง if-else แบบเติมคำในช่องว่างไปแล้ว ทุกคนน่าจะพอเห็นภาพและแนวทางการใช้คำสั่ง if-else บ้างแล้ว อย่างนั้นเรามาลองทำโจทย์ข้อนี้ด้วยการเขียนโปรแกรมเองทั้งหมดกันเลยครับ

python วันละข้อ || จำนวนเต็มประเภทใด

เรามาทบทวนการเขียนโปรแกรมแบบทางเลือก ให้โปรแกรมตัดสินใจตามรูปแบบที่กำหนดกันอีกครั้งนะครับ โดยครั้งนี้จะเป็นโจทย์แบบเติมคำตอบ ซึ่งเป็นโปรแกรมตรวจสอบเลขจำนวนเต็มที่รับเข้าสู่โปรแกรมว่าเป็นจำนวนเต็มประเภทใด (จำนวนเต็มบวก, จำนวนเต็มลบ, ศูนย์)

python วันละข้อ || โปรแกรมตัดเกรด (ตรวจสอบข้อผิดพลาด)

การทำงานใด ๆ มักจะมีขอบเขตการดำเนินการจำกัด และเพื่อให้ระบบการทำงานนั้น ๆ ทำงานได้ถูกต้อง ก็ควรจะมีการตรวจสอบข้อมูลก่อนนำไปประมวลผลว่าอยู่ในรูปแบบที่ถูกต้องหรือไม่

โปรแกรมตัดเกรดก็เช่นกันครับ สมมติว่าวิชาคอมพิวเตอร์ มีการเก็บคะแนนเป็น 3 ส่วน คือ คะแนนเก็บ 50 คะแนน คะแนนกลางภาค 20 คะแนน และคะแนนปลายภาค 30 คะแนน

python วันละข้อ || ตัดเกรด(แบบง่าย) เรียนรู้การตัดสินใจด้วย if-else

หลังจากที่เขียนโปรแกรมคำนวณอย่างง่าย หรือการเขียนโปรแกรมแบบลำดับมาสักพักนึงแล้ว เรามาลองเขียนโปรแกรมที่มีการตัดสินใจบ้างครับ เพราะการทำงานของคอมพิวเตอร์นอกจากจะทำงานแบบลำดับแล้ว บางครั้งก็ต้องมีการตัดสินใจด้วย

อาจจะมองดูรอบ ๆ ตัวเราก็ได้ ทุก ๆ อุปกรณ์หรือการทำงานในแต่ละขั้นตอนในชีวิตประจำวัน มักจะมีการตัดสินใจอยู่เสมอ และถ้าเราจะสั่งให้คอมพิวเตอร์ตัดสินใจบ้างล่ะ จะทำอย่างไร เช่น ถ้าเริ่มมืดให้ไฟเปิดอัตโนมัติ แบบนี้เป็นต้น หรือเมื่อนำมือไปใกล้ ๆ ให้อุปกรณ์นั้นทำการวัดอุณหภูมิ 

python วันละข้อ || แบ่งมรดก

ปัญหาการแบ่งมรดกมักจะมีมาทุกยุคทุกสมัยครับ และวันนี้ปัญหาเหล่านี้ก็มาถึงโจทย์โปรแกรมแล้ว เราลองมาดูซิว่าจะแก้ปัญหาการแบ่งมรดกให้บ้านนี้อย่างไรดีครับ

python วันละข้อ || ค่าเรียนพิเศษคณิตศาสตร์

วันนี้มาฝึกเรียนโปรแกรมภาษาไพทอนด้วยตนเองกันนะครับ ด้วยโจทย์เรื่อง “ค่าเรียนพิเศษคณิตศาสตร์” 
โจทย์นี้เป็นการฝึกวิเคราะห์ Input -> Process -> Output เบื้องต้น ให้รู้จักการนำเข้าข้อมูล การประมวลผลอย่างง่าย และการแสดงผลครับ

คู่มือ Unplugged Coding (ประถมต้น) ฉบับโรงเรียนพื้นที่ห่างไกล – สพฐ.

คณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา คณะผู้บริหารสถานศึกษา และคณะครูผู้สอน จากทั้ง 44 โรงเรียน ในโครงการแนวทางจัดการเรียนรู้วิชาวิทยาการคำนวณแบบไม่ใช้คอมพิวเตอร์สำหรับนักเรียนประถมศึกษาปีที่ 1 – 3 ในโรงเรียนพื้นที่ห่างไกล ได้ร่วมกันพัฒนาตัวอย่างรูปแบบชุดกิจกรรม สื่อการเรียนการสอน Unplugged Coding สำหรับเด็กประถมต้น ที่เหมาะสมกับโรงเรียนพื้นที่ห่างไกล โดยบูรณาการฐานการเรียนรู้ด้านวัฒนธรรม สิ่งแวดล้อม การอาชีพพื้นถิ่นรอบรั้วโรงเรียน และกิจกรรมกระบวนการต่าง ๆ มาประยุกต์เป็นสื่อการเรียนการสอน ซึ่งสามารถศึกษาเพิ่มเติมได้จากวีดิทัศน์จำนวน 13 คลิป…

เขียนไพทอนรับข้อมูลจากคีย์บอร์ดเข้าไปเก็บในตัวแปร

คลิปนี้แนะนำการเขียนโปรแกรมภาษาเบื้องต้น ในเรื่องของการรับค่าข้อมูลจากคีย์บอร์ดเข้าไปเก็บที่ตัวแปรครับ ซึ่งจะขอแนะนำไว้ 3 รูปแบบเบื้องต้น ได้แก่ การรับค่าอักขระหรือข้อความ การรับค่าตัวเลขจำนวนเต็ม และการรับค่าตัวเลขทศนิยม

เขียนไพทอนแสดงผลง่าย ๆ ด้วยคำสั่ง print

แนะนำการเขียนโปรแกรมภาษาไพทอนเบื้องต้น ในคลิปนี้จะเป็นเรื่องการใช้คำสั่งแสดงผล (คำสั่ง print) และรู้จักตัวแปรสำหรับเก็บข้อมูล 

เริ่มต้นเขียนโปรแกรมภาษาไพทอนง่าย ๆ ด้วย 2 เครื่องมือนี้

คลิปนี้จะมาแนะนำเครื่องมือหรือ editor ในการเขียนโปรแกรมด้วยภาษาไพทอนครับ ใครสะดวกแบบออนไลน์ก็ใช้แบบออนไลน์ ใครสะดวกแบบออฟไลน์ก็ใช้แบบออฟไลน์ครับ