ใครเป็นนายก ก็ต้องทำมาหากิน เหมือนเดิม

ช่วงการเมืองร้อนแรงในวันนี้ (19/07/2566) เลื่อนฟีดไปเจอข้อความนี้ อยากจะขอเก็บเอาไว้ ผมว่ามีส่วนจริงทุกข้อ และมีอีกหลายข้อเลยที่มีส่วน อาจจะเรียกได้ว่า ทุกระบบในประเทศก็ว่าได้ที่ได้รับผลกระทบจากการดำเนินการด้านการเมืองการปกครอง ถ้าอยู่บนครรลองที่ดี ผมว่าประเทศนั้น ๆ ไปได้ไกลกว่าเดิมแน่นอนครับ

บทความที่ว่า ก็มีดังนี้เลย

ใครเป็นนายก ก็ต้องทำมาหากิน เหมือนเดิม
ผิด ตั้งสติก่อน
• ถ้าการเมืองดี ค่าไฟ ค่า Ft ค่าน้ำมัน คุณจะไม่เป็นแบบนี้

ศาลรัฐธรรมนูญสั่งพิธาหยุดปฏิบัติหน้าที่ และสภาโหวตห้ามเสนอชื่อพิธารอบสอง

เป็นการเมืองไทยอีกเรื่องหนึ่งที่อยากจะบันทึกไว้ในบล็อกครับ เพราะถือได้ว่าเป็นเหตุการสำคัญทางประวัติศาสตร์ของประเทศอีกเรื่องหนึ่งก็ว่าได้ เพราะพรรคอันดับหนึ่งอย่างก้าวไกล ที่นำโดยพิธา ไม่ได้รับการโหวตให้เป็นนายกในรอบแรก (วันที่ 13 ก.ค. 66) ซึ่งเสียงส่วนใหญ่ก็คือ สว. ที่ไม่โหวตให้นั่นเอง รวมทั้งพรรคฝ่ายตรงข้าม

MOU ก้าวไกล ไม่มีการเมืองไทยยุคไหนที่จะทำแบบนี้มาก่อน

เป็นอีกบทบาทหนึ่งของสังคมการเมืองไทย ที่มีแกนนำพรรคที่จะร่วมจัดตั้งรัฐบาลมาจัดทำ MOU ร่วมกัน ตกลงกันเพื่อที่จะทำงานให้ประเทศชาติ แน่นอนครับการเช็นต์อะไรลงไปใน MOU นั้นต้องเป็นการผูกมันและให้คำมั่นสัญญาว่าจะทำงานตามที่ระบุไว้ในนั้น และทุกพรรคก็หารือร่วมกันจนได้ร่าง MOU ที่สมบูรณ์

สิ่งที่ต้องบันทึกไว้ในครั้งนี้ เพื่อเป็นเอาไว้เป็นประวัติศาสตร์การเมืองไทย ก็คือรายละเอียด MOU ครับ ซึ่งขออนุญาตนำมาโพสไว้ดังนี้

การทำงานของนักการเมืองรุ่นใหม่ (แตกต่างไปจากเดิมมากจริง ๆ)

หากเราผ่านการเลือกตั้งมามากกว่า 3 – 4 ครั้ง เราจะพบว่า เมื่อมีพรรคการเมืองใดเป็นฝ่ายชนะ ก็จะเริ่มหาพรรคพวก ในกรณีที่เสียง สส. ยังไม่เพียงพอ หรือกว่าจะได้รับการรับรอง ก็นานเป็นเดือน แล้วจึงจะเริ่มทำงานตามนโยบายที่หาไว้กันใช่ไหมครับ

แต่ในยุคนี้ (พ.ศ. 2566) การเลือกตั้ง 2566 แปลกไปจากครั้งก่อน ๆ เพราะสื่อสังคมออนไลน์เติมโตมาก นักการเมืองในพรรคที่ได้ สส. เยอะ ก็เป็นคนรุ่นใหม่เป็นส่วนใหญ่ (พรรคก้าวไกล) จึงเริ่มสื่อสารกับประชาชน เริ่มวางแผน และบางส่วนก็เริ่มทำงานกันแล้ว โดยที่ยังไม่ได้รับการรับรองจาก กกต. เลย 

เลือกตั้ง 2566

การเลือกตั้ง สส. และนายกประเทศไทย ณ เวลานี้ก็รู้ผลคร่าว ๆ เป็นที่แน่นอนแล้วครับ หลังจากที่มีการจัดการเลือกตั้งวันที่ 14 พ.ค. 2566 

การเลือกตั้งในทุก ๆ ครั้งก็จะมีสถิติที่รายงานบนหน้าจอทีวีและสื่อออนไลน์ให้เห็นกันปกติ แต่ครั้งนี้หลาย ๆ สำนักทำดีมาก ทำเป็น data visualization ได้เห็นภาพชัดเจนจริงๆ