คู่มือ Unplugged Coding (ประถมต้น) ฉบับโรงเรียนพื้นที่ห่างไกล – สพฐ.

คณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา คณะผู้บริหารสถานศึกษา และคณะครูผู้สอน จากทั้ง 44 โรงเรียน ในโครงการแนวทางจัดการเรียนรู้วิชาวิทยาการคำนวณแบบไม่ใช้คอมพิวเตอร์สำหรับนักเรียนประถมศึกษาปีที่ 1 – 3 ในโรงเรียนพื้นที่ห่างไกล ได้ร่วมกันพัฒนาตัวอย่างรูปแบบชุดกิจกรรม สื่อการเรียนการสอน Unplugged Coding สำหรับเด็กประถมต้น ที่เหมาะสมกับโรงเรียนพื้นที่ห่างไกล โดยบูรณาการฐานการเรียนรู้ด้านวัฒนธรรม สิ่งแวดล้อม การอาชีพพื้นถิ่นรอบรั้วโรงเรียน และกิจกรรมกระบวนการต่าง ๆ มาประยุกต์เป็นสื่อการเรียนการสอน
ซึ่งสามารถศึกษาเพิ่มเติมได้จากวีดิทัศน์จำนวน 13 คลิป ตามลิ้งค์ด้านล่าง
สามารถดาวน์โหลดคู่มือ (ภายในจะมี QR code สำหรับโหลดสื่อไปใช้จัดการเรียนรู้) ได้ที่
https://academic.obec.go.th/images/document/1618978434_d_1.pdf?fbclid=IwAR1fqhnznXkv0Uli-eE-AIGZn5JOiiQGyaLl-M39RylEzabNcTh-c33bPnk

Related Posts

แผนการจัดการเรียนรู้วิชาวิทยาการคำนวณ ม.4 (มัดรวม ตชว.ม.4 ม.5 และ ม.6)

แผนกาารจัดการเรียนรู้ (แผนการสอน) วิชาวิทยาการคำนวณ ม.ปลาย แบบมัดรวมตัวชี้วัดตามมาตรฐาน ว 4.2 ม.4-6 มาในวิชาเดียวครับ เพื่อให้สามารถจบหลักสูตรได้ในเทอมเดียว เป็นแผนที่ผมสอนจริงตามนี้ครับ แต่อาจจะสอนไม่ทันในบางเรื่องนะ ก็ใช้วิธีการรวบเนื้อหาเอา … เหตุที่ต้องจัดแบบนี้เพราะหน่วยกิตวิชาพื้นฐานระดับชั้นมัธยมศึกษาตอนปลาย ของรายวิชาเทคโนโลยีของผมนั้นได้มา 1.5 หน่วยกิต โดยผมแบ่ง 1.0 หน่วยกิตมาเป็นวิชาวิทยาการคำนวณ สอนในระดับ ม.4 ภาคเรียนที่ 1 (2 คาบ/สัปดาห์)…

เอกสารประกอบการอบรม ESP32 (ระบบอัตโนมัติ, Line Notify, MQTT, Blynk)

เอกสารการอบรมนี้ผมจัดทำขึ้นเพื่อใช้อบรมให้ความรู้นักเรียนครับ คุณครูสามารถนำไปปรับใช้ หรือนำไปทดลองใช้ได้ครับ มีตัวอย่างตั้งแต่ระบบอัตโนมัติแบบง่าย ๆ ไปจนถึงการพัฒนาระบบ IoT เบื้องต้น ดังนี้ครับ ESP32 โดย ณัฐพล บัวอุไร

ผลงานกิจกรรมบูรณาการ ม.4 “SKR สร้างสรรค์นวัตกรรมยุคดิจิทัล”

กิจกรรมบูรณาการของโรงเรียนสวนกุหลาบวิทยาลัย รังสิต เป็นกิจกรรมที่มีเป้าหมายเพื่อลดภาระงานของนักเรียน โดยนำภาระงานหลักในรายวิชาที่นักเรียนต้องทำอยู่แล้ว มาบูรณาการโดยให้นักเรียนนำองค์ความรู้ในวิชาอื่น ๆ มาเพิ่มเติมและจัดทำผลงานให้มีความสมบูรณ์

ในระดับ ม.4 ผมซึ่งสอนวิชาวิทยาการคำนวณ และนักเรียนต้องทำผลงาน 1 ชิ้นคือโครงงานวิทยากาาคำนวณ ซึ่งนักเรียนจะต้องพัฒนาโปรแกรม ซอฟต์แวร์ เกม หรือผลงานด้านเทคโนโลยีที่ใช้แนวคิดเชิงคำนวณ โดยบูรณาการกับรายวิชาอื่น ๆ อย่างสร้างสรรค์ และสอดคล้องกับชีวิตจริง ตามตัวชี้วัด ซึ่งนักเรียนสามารถนำผลงานนี้ไปบูรณาการร่วมกับวิชาอื่น ๆ ได้ 

ทำให้ผลงานบูรณาการ ม.4 มีงานหลักคือโครงงานวิทยาการคำนวณครับ และผลงานของนักเรียนที่ใช้ความรู้ในรายวิชาวิทยาการคำนวณ โดยบูรณาการร่วมกับวิชาอื่น ๆ ก็สำเร็จลุล่วงไปได้ด้วยดี โดยมีผลงานให้ทุกท่านได้รับชมตามลิงก์ที่แนบไว้ให้นี้ครับ

หลักสูตรวิชาวิทยาการคำนวณไม่มีสอนโปรแกรมพื้นฐาน?

จากดราม่าเรื่องหลักสูตรวิชาวิทยาการคำนวณหรือหลักสูตรคอมพิวเตอร์ที่เราเรียกกันไม่มีเรื่องการสอนโปรแกรมพื้นฐาน ครูหลายท่านมาคอมเม้นต์กันในโลกออนไลน์ขอให้ตัดวิชาวิทยาการคำนวณทิ้งไป เอาการสอนโปรแกรมพื้นฐานกลับมา

ผมก็เลยทำคลิปมาเล่าให้ฟังครับว่าหลักสูตรนี้ตัดการสอนใช้โปรแกรมพื้นฐานออกไปจริงหรือไม่ เรามาดูกันครับ

พัฒนาโครงงานแจ้งซ่อมง่าย ๆ ไม่ต้องเขียนโค้ดด้วย Glideapps

คลิปนี้เรามาพัฒนาโปรเจ็คแจ้งซ่อมง่าย ๆ ไม่ต้องเขียนโค้ดด้วย Glideapps กันครับ สามารถเอาไปปรับใช้ในโรงเรียนได้เลย #glideapp #glideapps #พัฒนาโครงงานวิทยาการคำนวณ #โครงงานวิทยาการคำนวณ

สร้างแอปพลิเคชัน โครงงาน “ของหายได้คืน” โดยไม่ต้องเขียนโค้ด

วันนี้เรามาดูวิธีการสร้างแอปพลิเคชัน “ของหายได้คืน” ซึ่งเป็นโปรเจ็คหรือโครงงานที่เราสามารถเอาไปใช้จริงในโรงเรียนได้ครับ การสร้างแอปพลิเคชันนี้เราจะใช้ Glideapps ในการสร้าง ซึ่งไม่ต้องเขียนโค้ดหรือเขียนโปรแกรมเลย ไปลองดูกันได้เลยครับ

Leave a Reply

Your email address will not be published. Required fields are marked *

This site uses Akismet to reduce spam. Learn how your comment data is processed.