วิทยากร : แนวทางการจัดการเรียนรู้วิทยาการคำนวณสำหรับโรงเรียนในสังกัด สช. อุบล ศรีสะเกษ อำนาจเจริญ สุรินทร์

ได้รับโอกาสดีอีกครั้งที่ทางสำนักงานส่งเสริมการศึกษาเอกชน หรือ สช. ได้เชิญให้ไปเป็นวิทยากรแนะนำคุณครูเกี่ยวกับการจัดการเรียนการสอนวิชาวิทยาการคำนวณ สำหรับโรงเรียนเอกชนในสังกัด สช. จังหวัดอุบลราชธานี สุรินทร์ อำนาจเจริญ และยโสธรครับ มีครูเอกชนเข้าร่วมอบรม 160 กว่าคน

จริงๆ แล้วครูเอกชนก็จำเป็นที่จะต้องได้รับการพัฒนาเรื่องของการจัดการเรียนรู้วิทยาการคำนวณเช่นกันครับ

ที่ผ่านมาแทบไม่มีโครงการให้ความรู้ด้านนี้กับครูเอกชนเลย ปัญหาที่พบคือเอกชนหลายๆที่ยังไม่สอนวิชานี้ ครูไม่รู้จะสอนอย่างไรครับ

ช่วงนี้สำนักงานการศึกษาเอกชนจึงมีโครงการพัฒนาครูเอกชนให้รู้จักวิชานี้ และก็เป็นครั้งแรกของผมที่มา จ.อุบลฯ ครับ

นอกจากแนะนำที่ไปที่มา มาตรฐาน ตชว. และแนวทางในการจัดหลักสูตรแล้ว ได้แนะนำเพิ่มเติมว่าในส่วนของ computer science และการแก้ปัญหาตามวิธี computational thinking มันช่วยแก้ปัญหาต่างๆได้จริงๆ นะ

ตัวอย่างที่ชอบนำมาพูดก็คือการทำแกงส้มที่ผมทำไม่เป็นนี่ล่ะครับ ใช้หลักการแยกย่อยปัญหาได้ดีมากๆ

หรือเคสล่าสุดที่เจอคือมีนักเรียนอยากส่งเกมประกวด แต่ไม่เคยทำเกมมาก่อน ในห้องเรียนก็ไม่มีสอน ถ้าเด็กๆมาถามแล้วผมบอกไปว่า ครูก็ทำไม่เป็น อย่าไปทำเลย ความตั้งใจเค้าคงหมดลงแน่ๆ

แต่เราสามารถใช้หลักการแยกย่อยปัญหามาช่วยได้ครับ ทำเกมไม่เป็น ไม่เคยทำก็ไม่เป็นไร งั้นเรามาวิเคราะห์กันว่าจะทำเกมได้อย่างไร มีเครื่องมืออะไรบ้าง เครื่องมือไหนน่าจะง่ายและเรียนรู้ได้เร็ว หลักการทำเกมมีอะไร

สุดท้ายแล้วหลังจากมองปัญหาย่อยๆ เด็กได้เครื่องมือทำเกมที่ส่งประกวดได้ทันเวลาครับ

มีเรื่องเล่าให้ครูฟังอีกมาก แต่ต้องเดินทางกลับแล้ว

หวังว่าจะมีโอกาสมาอีกนะครับ ขอบคุณครูชาวอุบลฯ ที่ต้อนรับเป็นอย่างดี

 

Related Posts

แผนการจัดการเรียนรู้วิชาวิทยาการคำนวณ ม.4 (มัดรวม ตชว.ม.4 ม.5 และ ม.6)

แผนกาารจัดการเรียนรู้ (แผนการสอน) วิชาวิทยาการคำนวณ ม.ปลาย แบบมัดรวมตัวชี้วัดตามมาตรฐาน ว 4.2 ม.4-6 มาในวิชาเดียวครับ เพื่อให้สามารถจบหลักสูตรได้ในเทอมเดียว เป็นแผนที่ผมสอนจริงตามนี้ครับ แต่อาจจะสอนไม่ทันในบางเรื่องนะ ก็ใช้วิธีการรวบเนื้อหาเอา … เหตุที่ต้องจัดแบบนี้เพราะหน่วยกิตวิชาพื้นฐานระดับชั้นมัธยมศึกษาตอนปลาย ของรายวิชาเทคโนโลยีของผมนั้นได้มา 1.5 หน่วยกิต โดยผมแบ่ง 1.0 หน่วยกิตมาเป็นวิชาวิทยาการคำนวณ สอนในระดับ ม.4 ภาคเรียนที่ 1 (2 คาบ/สัปดาห์)…

แผนการจัดการเรียนรู้วิชาการออกแบบและเทคโนโลยี ม.4 (ตชว.ม.4 และ ม.5)

แผนการจัดการเรียนรู้วิชาการออกแบบและเทคโนโลยี ม.4 จัดทำโดยครูณัฐพล บัวอุไร เป็นแผนการจัดการเรียนรู้ที่รวมเอาตัวชี้วัด ม.4 และ ม.5 ของมาตรฐาน ว 4.1 (การออกแบบและเทคโนโลยี) มาเขียนไว้ในแผนการจัดการเรียนรู้เดียว เนื่องจากโรงเรียนจัดหน่วยกิตวิชาพื้นฐานสำหรับจัดการเรียนการสอนวิชานี้เพียง 0.5 หน่วยกิตครับ และจัดไว้ในระดับชั้น ม.4 ครับ (สำหรับวิทยาการคำนวณ จัดวิชาพื้นฐานไว้ในระดับ ม.4 ภาคเรียนที่ 1 จำนวน 1 หน่วยกิต)…

การอบรมเชิงปฏิบัติการ “การพัฒนาระบบอัตโนมัติและ IoT ด้วยบอร์ด ESP32 โรงเรียนรัตนาธิเบศร์”

สำหรับวันนี้…ได้รับเกียรติจากเพื่อนครู คณะครู และคณะผู้บริหารของโรงเรียนรัตนาธิเบศร์ ให้ไปจัดการอบรมเชิงปฏิบัติการ “การพัฒนาระบบอัตโนมัติและ IoT ด้วยบอร์ด ESP32” ครับ … ซึ่งก็รู้สึกยินดีเป็นอย่างยิ่ง เพราะจะได้สอนเกี่ยวกับเทคโนโลยีและการพัฒนาระบบอัตโนมัติให้กับนักเรียนกลุ่มนี้ ซึ่งก็คือนักเรียนห้องเรียนพิเศษ ม.1 และ ม.4 ครับ … แม้ว่าจะมีน้อง ม.1 เข้าร่วมกิจกรรมการอบรมเขียนโปรแกรมครั้งนี้ด้วย แต่ก็ต้องบอกว่าสามารถเรียนรู้และปฏิบัติได้ไม่แพ้พี่ ม.4 เลยทีเดียว … วันนี้ผมก็เลยขอนำเอกสารการอบรมมาเผยแพร่ให้ผู้ที่สนใจได้นำไปปรับใช้หรือนำไปใช้สอนนักเรียนครับ ตามลิงก์ที่ให้ไว้นี้เลย…

เอกสารประกอบการอบรม ESP32 (ระบบอัตโนมัติ, Line Notify, MQTT, Blynk)

เอกสารการอบรมนี้ผมจัดทำขึ้นเพื่อใช้อบรมให้ความรู้นักเรียนครับ คุณครูสามารถนำไปปรับใช้ หรือนำไปทดลองใช้ได้ครับ มีตัวอย่างตั้งแต่ระบบอัตโนมัติแบบง่าย ๆ ไปจนถึงการพัฒนาระบบ IoT เบื้องต้น ดังนี้ครับ ESP32 โดย ณัฐพล บัวอุไร

ชนะเลิศการประกวดโครงงานคอมพิวเตอร์ ระดับเขตพื้นที่การศึกษา พ.ศ. 2566

การแข่งขันศิลปหัตกรรมนักเรียน ระดับเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาปทุมธานี เขต 1 รายการแข่งขันโครงงานคอมพิวเตอร์ ม.4-6 ปีนี้ได้นักเรียนมาจากงานแสดงผลงานบูรณาการ ม.4 รายวิชาวิทยาการคำนวณครับ ซึ่งนักเรียนกลุ่มนี้มีความสามารถด้านการสร้างเกมคอมพิวเตอร์ด้วย Roblox และเป็นลูกศิษย์ห้องผมที่เป็นครูประจำชั้นด้วย … ความโชคดีคือนักเรียนมีความขยัน ตั้งใจ และผลงานทั้งหมดนักเรียนตั้งใจทำขึ้นมาเองเลย ทำให้ผลงานออกมาดีเกินคาด และสามารถนำเสนอให้กรรมการรับฟังได้อย่างดีเลย ซึ่งก็ได้รับรางวัลชนะเลิศมาในที่สุด … แต่ปีนี้การแข่งขันระดับชาติได้ประกาศงดการจัดการแข่งขันไปแล้วครับ แต่ถึงจะไม่ได้ไปแข่งต่อ แต่ผลงานนี้เชื่อว่านักเรียนสามารถพัฒนาต่อยอดหรือนำเสนอเกมในรูปแบบอื่น ๆ ตามความถนัดของตนเองบนเวทีอื่นได้ต่อไปอย่างแน่นอน

ผลการคัดเลือก นร.เข้าค่าย สอวน. ค่ายที่ 2 สาขาคอมพิวเตอร์ ปีการศึกษา 2566 ศูนย์ มจพ.

ขอแสดงความยินดีกับนักเรียนทั้ง 13 ของโรงเรียนสวนกุหลาบวิทยาลัย รังสิต ที่ผ่านการคัดเลือกเข้าค่าย สอวน. คอมพิวเตอร์ ค่ายที่ 2 ปีการศึกษา 2566 ศูนย์มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือครับ

This Post Has 3 Comments

  1. อยากได้วีดิโอ เพื่อศึกษาด้วยครับ

    1. ครูดาวน์โหลดเอกสารกิจกรรม unplugged ไปใช้ได้นะครับ หรืออาจจะดูแนวทางจากคู่มือครูของ สสวท. ก็ได้ครับ

  2. มีวิดีโอให้ดูไหมครับ

Leave a Reply

Your email address will not be published. Required fields are marked *

This site uses Akismet to reduce spam. Learn how your comment data is processed.