[c language #2] Hello World! โปรแกรมแรกใช้ชีวิต

ให้นักเรียนศึกษาตัวอย่างโปรแกรมต่อไปนี้ครับ นักเรียนอาจจะลองเขียนโปรแกรมนี้ลงใน Dev-C++ เพื่อศึกษาผลลัพธ์ด้วยก็ได้

บรรทัดที่ 1     #include<stdio.h>

บรรทัดที่ 2     int main()

บรรทัดที่ 3     {

บรรทัดที่ 4                printf(“Hello World!”);

บรรทัดที่ 5                return 0;

บรรทัดที่ 6     }

ผลลัพธ์เมื่อรันโปรแกรม

Hello World!

โปรแกรมด้านบนนี้เป็นโปรแกรมภาษาซี ซึ่งเมื่อรันโปรแกรมแล้วจะแสดงผลคำว่า Hello World! โดย

บรรทัดที่ 1 เป็นการเรียกใช้ไฟล์ stdio.h ซึ่งเป็นไฟล์ที่บรรจุฟังก์ชัน printf ที่ถูกเรียกใช้ในบันทัดที่ 4

บรรทัดที่ 2 ฟังก์ชัน int main() เป็นฟังก์ชันหลักสำหรับเขียนโปรแกรม โดยทุกโปรแกรมจะต้องมีฟังก์ชันหลักนี้เสมอ

บรรทัดที่ 3 วงเล็บเปิดสำหรับเริ่มเขียนโปรแกรม โปรแกรมที่เขียนจะต้องเขียนภายในวงเล็บนี้

บรรทัดที่ 4 เรียกใช้ฟังก์ขัน printf เพื่อแสดงคำว่า Hello World!

บรรทัดที่ 5 คืนค่า 0 เพื่อบอกว่าจบโปรแกรม

บรรทัดที่ 6 วงเล็บปิด เพื่อแสดงว่าจบฟังก์ชัน main

 

เป็นอย่างไรบ้างครับ เขียนโปรแกรมครั้งแรกนี้ง่ายมั๊ยครับ?

สำหรับการเขียนโปรแกรมด้วยภาษาซี ก็มีโครงสร้างหลักๆ ตามตัวอย่างด้านบน ส่วนที่แตกต่างกันไปก็คือส่วนที่อยู่ในวงเล็บปีกกานั่นแหละครับ ดังนั้นหากใครจำโครงสร้างหลักๆ นี้ไม่ได้ โปรแกรมก็คงทำงานไม่ได้แน่นอน แล้วจะทำอย่างไรให้จำได้ล่ะ? คำตอบก็คือ ต้องฝึกเขียนโปรแกรมบ่อยๆ ไงครับ แล้วจะเก่งเอง (Learning by doing) ครับ

 

โจทย์ประลองปัญญา (ทำได้เอาไปเลย 5 คะแนน)

โจทย์ประลองปัญญาโจทย์แรกนี้ให้นักเรียน ลองเขียนโค๊ดแสดงข้อความ

ภาษาซี มัน Easy จริงๆ เลย

เมื่อทำเสร็จแล้ว ให้นักเรียนคลิกลิงค์ด้านล่างนี้ แล้วคัดลอกโค๊ดโปรแกรมทั้งหมดส่งมาในระบบครับ

คลิกเพื่อส่งงาน (กำหนดส่งภายในวันที่ 22 พ.ย. 2556)

หากต้องการดูผลการส่งงานของตนเอง คลิก ที่นี่ ครับ

 

มีข้อสงสัยหรือต้องการแนะนำอะไร โพสไว้ใน comment ได้เลยนะครับ

แล้วพบกับเรื่องต่อไปอีกไม่นานนี้ครับ

Related Posts

[การออกแบบและเทคโนโลยี] วิเคราะห์ระบบทางเทคโนโลยี

1-3 ระบบทางเทคโนโลยี โดย ณัฐพล บัวอุไร

[การออกแบบและเทคโนโลยี] เทคโนโลยีและวิวัฒนาการของเทคโนโลยี

1-2 วิวัฒนาการของเทคโนโลยี โดย ณัฐพล บัวอุไร

[การออกแบบและเทคโนโลยี] Introduction to Design and Technology

1-1 Intro to DT โดย ณัฐพล บัวอุไร

ผลงานกิจกรรมบูรณาการ ม.4 “SKR สร้างสรรค์นวัตกรรมยุคดิจิทัล”

กิจกรรมบูรณาการของโรงเรียนสวนกุหลาบวิทยาลัย รังสิต เป็นกิจกรรมที่มีเป้าหมายเพื่อลดภาระงานของนักเรียน โดยนำภาระงานหลักในรายวิชาที่นักเรียนต้องทำอยู่แล้ว มาบูรณาการโดยให้นักเรียนนำองค์ความรู้ในวิชาอื่น ๆ มาเพิ่มเติมและจัดทำผลงานให้มีความสมบูรณ์

ในระดับ ม.4 ผมซึ่งสอนวิชาวิทยาการคำนวณ และนักเรียนต้องทำผลงาน 1 ชิ้นคือโครงงานวิทยากาาคำนวณ ซึ่งนักเรียนจะต้องพัฒนาโปรแกรม ซอฟต์แวร์ เกม หรือผลงานด้านเทคโนโลยีที่ใช้แนวคิดเชิงคำนวณ โดยบูรณาการกับรายวิชาอื่น ๆ อย่างสร้างสรรค์ และสอดคล้องกับชีวิตจริง ตามตัวชี้วัด ซึ่งนักเรียนสามารถนำผลงานนี้ไปบูรณาการร่วมกับวิชาอื่น ๆ ได้ 

ทำให้ผลงานบูรณาการ ม.4 มีงานหลักคือโครงงานวิทยาการคำนวณครับ และผลงานของนักเรียนที่ใช้ความรู้ในรายวิชาวิทยาการคำนวณ โดยบูรณาการร่วมกับวิชาอื่น ๆ ก็สำเร็จลุล่วงไปได้ด้วยดี โดยมีผลงานให้ทุกท่านได้รับชมตามลิงก์ที่แนบไว้ให้นี้ครับ

หลักสูตรวิชาวิทยาการคำนวณไม่มีสอนโปรแกรมพื้นฐาน?

จากดราม่าเรื่องหลักสูตรวิชาวิทยาการคำนวณหรือหลักสูตรคอมพิวเตอร์ที่เราเรียกกันไม่มีเรื่องการสอนโปรแกรมพื้นฐาน ครูหลายท่านมาคอมเม้นต์กันในโลกออนไลน์ขอให้ตัดวิชาวิทยาการคำนวณทิ้งไป เอาการสอนโปรแกรมพื้นฐานกลับมา

ผมก็เลยทำคลิปมาเล่าให้ฟังครับว่าหลักสูตรนี้ตัดการสอนใช้โปรแกรมพื้นฐานออกไปจริงหรือไม่ เรามาดูกันครับ

พัฒนาโครงงานแจ้งซ่อมง่าย ๆ ไม่ต้องเขียนโค้ดด้วย Glideapps

คลิปนี้เรามาพัฒนาโปรเจ็คแจ้งซ่อมง่าย ๆ ไม่ต้องเขียนโค้ดด้วย Glideapps กันครับ สามารถเอาไปปรับใช้ในโรงเรียนได้เลย #glideapp #glideapps #พัฒนาโครงงานวิทยาการคำนวณ #โครงงานวิทยาการคำนวณ

This Post Has 3 Comments

  1. เวลาลองrun แล้วมันขึ้นแว๊บเดียวเองครับ

  2. แทรกบรรทัดที่สองเป็น #include
    และบรรทัดก่อน return 0; แทรก system(“pause”);
    ทำตามแล้วคอมไพล์ปรากฏ
    #include expects “FILENAME” or
    ทำอย่างไรต่อไปค่ะ เพิ่งเรียน

Leave a Reply

Your email address will not be published. Required fields are marked *

This site uses Akismet to reduce spam. Learn how your comment data is processed.