IPv4 และ IPv6 คืออะไร

เมื่อเราเปิดเครื่องคอมพิวเตอร์เพื่อใช้งานอินเทอร์เน็ต คงจะเคยเห็นตัวเลขแปลกๆ เช่น 127.0.0.1 หรือ 192.168.1.1 หรือจำนวนอื่นๆ ตัวเลขเหล่านี้คืออะไรกัน

ตัวเลขเหล่านี้คือหมายเลข IP ประจำเครื่องครับ โดย IP ก็ย่อมาจากคำว่า Internet Protocol หน้าที่ของเจ้าเลขพวกนี้ก็คือ เป็นหลายเลขที่ใช้ในระบบเครือข่าย เป็นหมายเลขประจำเครื่องคอมพิวเตอร์ของเรา ในกรณีที่เราเชื่อมต่อกับระบบเครือข่าย ยกตัวอย่างง่ายๆ เช่น โทรศัพท์มือถือทุกเครื่องก็จะมีเลขหมายหรือเบอร์โทรศัพท์เพื่อบอกว่าถ้าจะติดต่อเครื่องนี้ให้โทรมาที่เบอร์นี้นะ เช่นเดียวกันครับ คอมพิวเตอร์ก็มีเลขหมายหรือพูดง่ายก็คือชื่อมันนั่นเอง เพือให้เครื่องคอมพิวเตอร์หรืออุปกรณ์ต่างๆ บนระบบเครือข่ายรู้จักกัน

จากหมายเลข IP ที่ยกตัวอย่างไปด้านบน เราเรียกว่า IPv4 ครับ โดยจะเป็นหมายเลขที่มีทั้งหมด 32 บิต (แต่ละช่วงเว้นวรรคด้วย . ) แบ่งเป็นช่วงละ 8 บิต โดยตัวเลข 8 นี้ก็จะมีค่าตั้งแต่ 0 – 255 ครับ ดังนั้น IPv4 จึงมีหมายเลขได้ตั่งแต่ 0.0.0.0 ถึง 255.255.255.255 แต่ก็ใช่ว่าทุกตัวจะใช้ได้หมดนะครับ เพราะจะมีบางหมายเลขที่ถูกเก็บไว้ใช้งานเฉพาะ

IPv4 ทั้งหมดถูกแบ่งออกเป็น Class ชนิดต่างๆ เพื่อจุดประสงค์ในการใช้งานที่ต่างกันไป ดังนี้ครับ

  1. คลาส A เริ่มตั้งแต่ 1.0.0.1 ถึง 127.255.255.254
  2. คลาส B เริ่มตั้งแต่ 128.0.0.1 ถึง 191.255.255.254
  3. คลาส C เริ่มตั้งแต่ 192.0.1.1 ถึง 223.255.254.254
  4. คลาส D เริ่มตั้งแต่ 224.0.0.0 ถึง 239.255.255.255 ใช้สำหรับงาน multicast
  5. คลาส E เริ่มตั้งแต่ 240.0.0.0 ถึง 255.255.255.254 ถูกสำรองไว้ ยังไม่มีการใช้งาน

สำหรับไอพีในช่วง 127.0.0.0 ถึง 127.255.255.255 ใช้สำหรับการทดสอบระบบ

แต่หมายเลข IP ด้านบนนี้ก็ยังถูกแบ่งออกเป็นอีก 2 ประเภทคือ IP ส่วนตัว (Private IP) และ IP สาธารณะ (Publish IP)

โดย IP ส่วนตัวมีไว้สำหรับใช้งานภายในองค์กรเท่านั้น ได้แก่

  1. ไอพีส่วนตัว คลาส A เริ่มตั้งแต่ 10.0.0.0 ถึง 10.255.255.255 สับเน็ตมาสต์ที่ใช้ได้ เริ่มตั้งแต่ 255.0.0.0 ขึ้นไป
  2. ไอพีส่วนตัว คลาส B เริ่มตั้งแต่ 172.16.0.0 ถึง 172.31.255.255 สับเน็ตมาสต์ที่ใช้ได้ เริ่มตั้งแต่ 255.240.0.0 ขึ้นไป
  3. ไอพีส่วนตัว คลาส C เริ่มตั้งแต่ 192.168.0.0 ถึง 192.168.255.255 สับเน็ตมาสต์ที่ใช้ได้ เริ่มตั้งแต่ 255.255.0.0 ขึ้นไป

ไอพีส่วนตัวข้างต้นถูกกำหนดให้ไม่สามารถนำไปใช้งานในเครือข่ายสาธารณะ (Internet)

ส่วน IP สาธารณะมีไว้สำหรับให้แต่ละองค์กร หรือแต่ละบุคคลใช้ในการเชื่อมต่อระบบเครือข่ายเข้าหากัน

จากช่วงของ IPv4 ตั้งแต่ 1.1.1.1 ถึง 255.255.255.255 ถ้าคอมพิวเตอร์ 1 เครื่องใช้หนึ่งหมายเลข เช่น เครื่องผมใช้ 1.1.1.1 เครื่องที่สองใช้ 1.1.1.2 เราก็จะประมาณได้ว่าเราจะมีคอมพิวเตอร์ที่เชื่อมโยงอยู่ในระบบเครือข่ายได้ทั้งหมดประมาณ 232 เครื่องครับ ซึ่งเป็นตัวเลขที่เยอะมาก แต่ก็ยังเยอะไม่พอ เพราะว่า IPv4 ที่แจกจ่ายให้เครื่องคอมพิวเตอร์ทั่วโลกได้กำลังจะหมดลงไปแล้ว

แล้วเราจะทำอย่างไรดี ถ้าเราซื้อเครื่องคอมพิวเตอร์มาแล้วไม่มี IP ให้เราใช้ล่ะ วิธีการที่นักคอมพิวเตอร์แก้ไขก็คือการกำหนดหมายเลข IP ใหม่ขึ้นมาครับ โดย IP ใหม่นี้ถูกเรียกว่า IPv6 (Internet Protocol version 6) ถูกสร้างขึ้นมาเพื่อแก้ปัญหาการขาดแคลน IP โดย IPv6 นี้ใช้ระบบเลข 128 บิต ดังนั้นจึงมีจำนวน IP ได้มากสุดถึง 2128 หมายเลขครับ เยอะมากที่จะพอให้มนุษย์บนโลกนี้ใช้ได้ไปอีกนานเลยทีเดียว

ตัวอย่าง IPv6 ก็จะกำหนดในลักษณะดังนี้ครับ 2001:0db8:85a3:0000:0000:8a2e:0370:7334

ข้อมูลเพิ่มเติม IPv6

Related Posts

นโยบาย สพฐ. และมาตรการเตรียมความพร้อมเปิดภาคเรียนที่ 1/2567

  ลิงก์ Canva นำเสนอของผู้บริหารระดับสูง สพฐ. ***************** 1. เลขาธิการ กพฐ. ลิงก์ : https://www.canva.com/design/DAGDM470AA4/hETNP0Gf86ERZcsYfQTZAA/view?utm_content=DAGDM470AA4&utm_campaign=designshare&utm_medium=link&utm_source=editor 2. นางเกศทิพย์ ศุภวานิช ลิงก์ : https://www.canva.com/design/DAGDJj8EUgE/bADQfeRQotDjdsmpkruSBw/view?utm_content=DAGDJj8EUgE&utm_campaign=share_your_design&utm_medium=link&utm_source=shareyourdesignpanel 3. นายพัฒนะ พัฒนทวีดล ลิงก์ : https://www.canva.com/design/DAGDI2gL_qg/DqUMIZFUzV9KTvNvpoiugg/edit 4. นายธีร์ ภวังคนันท์…

แนวทางการวัดและประเมินผลการเรียนรู้ตัวชี้วัดระหว่างทาง ตัวชี้วัดปลายทาง และเกณฑ์การตัดสินผลการเรียน

แนวทางการวัดและประเมินผลการเรียนรู้ตัวชี้วัดระหว่างทาง ตัวชี้วัดปลายทาง และเกณฑ์การตัดสินผลการเรียน แนวทางการวัดและประเมินผลการเรียนรู้ตัวชี้วัดระหว่างทาง ตัวชี้วัดปลายทาง 1. กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย 2. กลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์ 3. กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี 4-กลุ่มสาระการเรียนรู้สังคมศึกษาฯ 5. กลุ่มสาระการเรียนรู้สุขศึกษาและพลศึกษา 6. กลุ่มสาระการเรียนรู้ศิลปะ 7. กลุ่มสาระการเรียนรู้การงานอาชีพ 8. กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาต่างประเทศ

ENG Zombie เกมเรียนคำศัพท์ระดับง่าย สำหรับเด็กอนุบาล-ประถม

คลิปนี้พ่อโจ๊กและน้องอันนามาแนะนำแอปเรียนคำศัพท์ภาษาอังกฤษระดับง่าย สำหรับน้องๆ อนุบาลก็เล่นได้ ประถมก็เล่นดี คุณพ่อคุณแม่โหลดไว้ให้ลูก ๆ เล่นได้ เอาไว้ฝึกจำคำศัพท์ครับ #อันนา #แอปเรียนภาษา #เรียนภาษาอังกฤษ

แว่นตาอันใหม่ของอันนา พ่อโจ๊กแม่ฝนพาอันนามาตัดแว่นใหม่ เลือกกรอบใหม่

หลังจากที่อันนาตัดแว่นและใส่แว่นมาเป็นเวลา 1 ปี เพื่อปรับค่าสายตาเบื้องต้น สัปดาห์นี้พ่อโจ๊กกับแม่ฝนจึงพาอันนามาตัดแว่นใหม่ให้ตรงกับค่าสายตา และอันนาก็อยากจะเลือกกรอบแว่นใหม่ แบบน่ารัก ๆ ครับ เราไปดูกันว่าแว่นใหม่ของอันนาจะใส่แล้วน่ารักไหม #ตัดแว่นเด็ก #อันนา #กรอบแว่นน่ารัก

อันนาแนะนำแอปฯ เรียนคำศัพท์ภาษาอังกฤษแบบเล่นเกม TOEIC Zombie

คลิปนี้พ่อโจ๊กและน้องอันนามาแนะนำแอปฯ เรียนภาษาอังกฤษ ฝึกคำศัพท์สำหรับเตรียมสอบ TOEIC แบบฟรี ๆ ไม่ต้องเสียเงินซื้อแอปฯ ครับ #toeic #แอปเรียนภาษา #เรียนภาษาอังกฤษ #toeiczombie

สร้างแอปพลิเคชัน โครงงาน “ของหายได้คืน” โดยไม่ต้องเขียนโค้ด

วันนี้เรามาดูวิธีการสร้างแอปพลิเคชัน “ของหายได้คืน” ซึ่งเป็นโปรเจ็คหรือโครงงานที่เราสามารถเอาไปใช้จริงในโรงเรียนได้ครับ การสร้างแอปพลิเคชันนี้เราจะใช้ Glideapps ในการสร้าง ซึ่งไม่ต้องเขียนโค้ดหรือเขียนโปรแกรมเลย ไปลองดูกันได้เลยครับ

This Post Has 14 Comments

  1. คอมฯทุกเครื่องสามารถรองรับมาตรฐาน IPV6 มั้ยค่ะ

  2. IPv5 สำรองไว้สำหรับ Stream Protocol เพื่อรับส่งข้อมูลที่เป็นแบบ real-time เท่านั้น และยังไม่มีการใช้งานจริงในทางปฏิบัติ

Leave a Reply

Your email address will not be published. Required fields are marked *

This site uses Akismet to reduce spam. Learn how your comment data is processed.