ธรรมะ : ความจริงของชีวิต

หลังจากที่เข้ารับการอบรมตามโครงการส่งเสริมคุณธรรม จริยธรรมของผู้ประกอบวิชาชีพทางการศึกษาของครุสภามา 3 วัน ก็ทำให้คนอย่างผมรู้ซึ้งในรสพระธรรมขึ้นมาอีกนิดหนึ่ง จากการที่คิดว่าการสร้างบุญกุศลสามารถทำได้จากการให้ การบริจาค การเข้าวัดทำบุญ ก็ได้ความรู้ว่าการทำบุญยังมีวิธีอื่นอีกมากมายที่ไม่ใช่วิธีการข้างต้น

หลังจากเข้าวัดอบรมจิตใจ ก็ทำให้คิดได้ว่าหลักธรรมทางพระพระพุุทธศาสนาของเรานี้มีมากมาย ซึ่งล้วนแล้วแต่มีคุณค่า มีประโยชน์ อีกทั้งยังสามารถนำไปใช้ได้จริงกับการเรียน การทำงาน รวมทั้งการดำรงชีวิตในปัจจุบัน

พอออกจากวัดมาครั้งนี้ก็เลยคิดว่าจะทำหลักธรรมคำสอนที่ได้รับการอบรมมาเขียนไว้ใน blog ของเราเอง เขียนไปเรื่อยๆ ครั้งละเรื่องๆ ก็ยังดี อย่างน้อยก็ถือได้ว่าเราได้เผยแพร่และสืบทอดศาสนา ได้เผยแพร่ธรรมะให้กับสังคมออนไลน์ได้บ้าง

ทั้งนี้วันนี้ขอเริ่มด้วยเรื่องพื้นฐานก่อนเลยแล้วกัน ซึ่งเป็นเรื่องเกี่ยวกับความจริงของชีวิตครับ

คำว่า “ชีวิต” ในทางพระพุทธศาสนาอธิบายไว้ว่า

  1. ชีว คือ อัตตาที่ทำสัตว์ให้เป็นอยู่ มีอยู่ในโลกนี้เท่านั้น ล่วงลับไปแล้วก็พินาศไป
  2. ปริส คือ อัตตาที่ยังความอยากของสิ่งที่อาศัยตนให้บริบูรณ์
  3. อตฺต คือ ตัวตนที่ทำให้สัตว์เป็นไปอย่างต่อเนื่อง

พระพุทธศาสนาอธิบายสิ่งทั้งหลายในรูปของส่วนประกอบต่างๆ ที่มาประชุมกันแล้ว ตัวตนที่แท้จริงของสิ่งทั้งหลายไม่ปรากฏ เมื่อแยกออกแล้วจะไม่มีตัวตนแท้จริง ในที่นี้ จะแสดงส่วนประกอบที่เป็นรูปลักษณ์ขันธ์ 5 เรียกเป็นภาษาธรรมว่า เบญจขันธ์ ครับ ได้แก่

  1. รูป (Corporeality) ได้แก่ ส่วนประกอบฝ่ายที่เป็นรูปทั้งหลาย คือ ร่างกาย และพฤติกรรมทั้งหมดของร่างกาย
  2. เวทนา (Feeling, Sensation) ได้แก่ ความรู้สึกสุขทุกข์ หรือไม่สุขไม่ทุกข์ เกิดจากประสาทสัมผัสทั้ง 5 และทางใจ
  3. สัญญา (Perception) ได้แก่ การกำหนดได้หมายรู้ คือ รู้อาการเครื่องหมาย รูปลักษณ์ต่างๆ เป็นเหตุให้จดจำอารมณ์นั้นๆ ได้
  4. สังขาร (Mental formations) ได้แก่ องค์ประกอบหรือคุณสมบัติต่างๆ ของจิตใจที่ปรุงแต่งจิตใจให้คิดดีหรือชั่วโดยวิธีการต่างๆ
  5. วิญญาณ (Consciousness) ได้แก่ ความรู้อารมณ์ทางประสาททั้ง 5 และทางใจ เช่น การเห็น การได้ยิน การได้กลิ่น รู้รส การรู้สัมผัสทางกาย และการรู้อารมณ์ทางใจ

สรุปได้ว่า ชีวิตที่กล่าวมาข้างต้นนั้น หมายถึง ความเป็นอยู่ในการที่จะสร้างกุศลกรรมเพื่อทำให้ตนมีชีวิตที่ดีงามมีความสุขสงบตลอดไป…

(ที่มา : หลักสูตรการเสริมสร้างคุณธรรม จริยธรรม และจรรยาบรรณของผู้ประกอบวิชาชีพทางการศึกษา)

Related Posts

ศาลรัฐธรรมนูญสั่งพิธาหยุดปฏิบัติหน้าที่ และสภาโหวตห้ามเสนอชื่อพิธารอบสอง

เป็นการเมืองไทยอีกเรื่องหนึ่งที่อยากจะบันทึกไว้ในบล็อกครับ เพราะถือได้ว่าเป็นเหตุการสำคัญทางประวัติศาสตร์ของประเทศอีกเรื่องหนึ่งก็ว่าได้ เพราะพรรคอันดับหนึ่งอย่างก้าวไกล ที่นำโดยพิธา ไม่ได้รับการโหวตให้เป็นนายกในรอบแรก (วันที่ 13 ก.ค. 66) ซึ่งเสียงส่วนใหญ่ก็คือ สว. ที่ไม่โหวตให้นั่นเอง รวมทั้งพรรคฝ่ายตรงข้าม

ทางทำความดี – บุญกิริยาวัตถุ 10

หลายๆ คน รวมทั้งตัวผมด้วย พอนึกอยากจะทำบุญก็ไปวัด ไปทำบุญ ใส่บาตร ถวายสังฆทาน ปล่อยนก ปล่อยปลา คิดว่านี่คือการทำบุญ ซึ่งมันก็ถูกครับ แต่หลังจากที่ได้เข้าวัดปฏิบัติธรรมมา ก็ทำให้ได้รับความรู้ว่า การทำบุญมันยังมีวิธีอื่นอีกมากมาย ไม่จำไปต้องไปที่วัดก็ได้ ไม่จำเป็นต้องเสียเงินเสียทองก็ได้ ซึ่งหลักธรรมเกี่ยวกับการทำบุญหรือทางทำความดี ที่เรียกว่า บุญกิริยาวัตถุ 10 ได้กล่างถึงทางในการทำบุญหรือทำความดี มี 10 ประการ คือ ทานมัย คือการทำบุญด้วยการให้ปันสิ่งของ…

This Post Has One Comment

Leave a Reply

Your email address will not be published. Required fields are marked *

This site uses Akismet to reduce spam. Learn how your comment data is processed.