นำเสนอ Best Practice วันครู

วันที่ 16 มกราคม ที่ผ่านมา ซึ่งเป็นวันครู และปีนี้เป็นปีแห่งการเทิดพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ซึ่งเป็นครูของแผ่นดิน ทั้งนี้โรงเรียนปทุมวิไล จึงได้จัดงานเทิดพระเกียรติและงานวันครูขึ้น โดยมีครูจากทุกโรงเรียนในจังหวัดปทุมธานีไปเข้าร่วม

และผมก็ได้รับมอบหมายพิเศษจากหัวหน้ากลุ่มสาระการเรียนรู้การงานอาชีพฯ ให้นำ Best Practice เกี่ยวกับการนำ Social media ไปใช้ในการจัดการเรียนการสอนไปนำเสนอในงาน ซึ่งก็รู้สึกยินดีเป็นอย่างยิ่งครับ โดยได้นำวิธีการจัดการเรียนการสอนโดยใช้ Social Media ตามทฤษฎีการสร้างองค์ความรู้ด้วยตนเอง (Constructivism) ไปนำเสนอ ซึ่งก็มีครูจากหลายโรงเรียนให้ความสนใจเป็นอย่างดี

แต่ที่สำคัญที่อยากไปร่วมงานนี้ก็คือการได้กลับไปเยี่ยมโรงเรียนเก่าสมัยที่ เคยเรียนตอนอยู่มัธยมครับ ซึ่งโรงเรียนก็เปลี่ยนแปลงไปมากเลยทีเดียว จัดทำหอประชุมใหม่ มีตึกใหม่เกิดขึ้น แต่คุณครูที่เคยสอนผมมาก็จำผมได้ด้วยนะ ก็รู้สึกดีใจจริงๆ ที่ท่านยังจำเราได้…

หลังจากที่กลับจากงานวันครูก็ตั้งเป้าหมายที่จะพัฒนา Social Media ของตนเอง และนำ Social Media มาใช้ในการจัดการเรียนการสอนให้ครบทุกห้องเรียน ในรายวิชาที่ตนเองสอน เพื่อพัฒนานักเรียนให้เป็นผู้ที่สามารถสร้างองค์ความรู้ได้ด้วยตนเอง และรู้จักการใช้เทคโนโลยีในทางที่เกิดประโยชน์ต่อการศึกษาเรียนรู้ของตนเอง

http://multiply.com/mu/krunattapon/image/1/photos/37/500x500/14/IMG-3017.JPG?et=w1UV7NvYphEzeeRq3BE%2CYg&nmid=425975260

http://multiply.com/mu/krunattapon/image/1/photos/37/500x500/1/DSC-2396.JPG?et=rj4URtNH1l%2CnTdZGVWc6Zw&nmid=425975260

http://multiply.com/mu/krunattapon/image/1/photos/37/500x500/12/IMG-3011.JPG?et=gWPfjfTr7EaanQK9LUDhug&nmid=425975260

Related Posts

Upskill : รู้ทัน AI เพื่อยกระดับการจัดการเรียนรู้อย่างเท่าทันเทคโนโลยี

ถึงเวลาแล้วที่ครูจะต้องรู้ทันเทคโนโลยีครับ แม้ว่าเราจะไม่ได้ใช้มันอย่างเต็มที่ แต่การรู้เท่าทันก็จะทำให้ครูปรับตัวตามการเรียนรู้ของนักเรียนได้ครับ เพราะทุกครั้งที่คุณครูมอบหมายงานทุกวันนี้ เด็กๆ ก็อาจจะใช้ AI ช่วยในการทำงานแล้วก็ได้ ดังนั้นการรู้เท่าทันหรือนำ AI ไปปรับใช้ได้ก็จะเป็นประโยชน์ต่อการสอนแน่นอนครับ เอกสารที่ผมใช้ในการบรรยายเรื่อง Upskill : รู้ทัน AI เพื่อยกระดับการจัดการเรียนรู้อย่างเท่าทันเทคโนโลยี ของโรงเรียนสวนกุหลาบวิทยาลัย รังสิต มีดังนี้ครับ อบรม AI โดย ณัฐพล บัวอุไร

แผนการจัดการเรียนรู้วิชาวิทยาการคำนวณ ม.4 (มัดรวม ตชว.ม.4 ม.5 และ ม.6)

แผนกาารจัดการเรียนรู้ (แผนการสอน) วิชาวิทยาการคำนวณ ม.ปลาย แบบมัดรวมตัวชี้วัดตามมาตรฐาน ว 4.2 ม.4-6 มาในวิชาเดียวครับ เพื่อให้สามารถจบหลักสูตรได้ในเทอมเดียว เป็นแผนที่ผมสอนจริงตามนี้ครับ แต่อาจจะสอนไม่ทันในบางเรื่องนะ ก็ใช้วิธีการรวบเนื้อหาเอา … เหตุที่ต้องจัดแบบนี้เพราะหน่วยกิตวิชาพื้นฐานระดับชั้นมัธยมศึกษาตอนปลาย ของรายวิชาเทคโนโลยีของผมนั้นได้มา 1.5 หน่วยกิต โดยผมแบ่ง 1.0 หน่วยกิตมาเป็นวิชาวิทยาการคำนวณ สอนในระดับ ม.4 ภาคเรียนที่ 1 (2 คาบ/สัปดาห์)…

แผนการจัดการเรียนรู้วิชาการออกแบบและเทคโนโลยี ม.4 (ตชว.ม.4 และ ม.5)

แผนการจัดการเรียนรู้วิชาการออกแบบและเทคโนโลยี ม.4 จัดทำโดยครูณัฐพล บัวอุไร เป็นแผนการจัดการเรียนรู้ที่รวมเอาตัวชี้วัด ม.4 และ ม.5 ของมาตรฐาน ว 4.1 (การออกแบบและเทคโนโลยี) มาเขียนไว้ในแผนการจัดการเรียนรู้เดียว เนื่องจากโรงเรียนจัดหน่วยกิตวิชาพื้นฐานสำหรับจัดการเรียนการสอนวิชานี้เพียง 0.5 หน่วยกิตครับ และจัดไว้ในระดับชั้น ม.4 ครับ (สำหรับวิทยาการคำนวณ จัดวิชาพื้นฐานไว้ในระดับ ม.4 ภาคเรียนที่ 1 จำนวน 1 หน่วยกิต)…

การอบรมเชิงปฏิบัติการ “การพัฒนาระบบอัตโนมัติและ IoT ด้วยบอร์ด ESP32 โรงเรียนรัตนาธิเบศร์”

สำหรับวันนี้…ได้รับเกียรติจากเพื่อนครู คณะครู และคณะผู้บริหารของโรงเรียนรัตนาธิเบศร์ ให้ไปจัดการอบรมเชิงปฏิบัติการ “การพัฒนาระบบอัตโนมัติและ IoT ด้วยบอร์ด ESP32” ครับ … ซึ่งก็รู้สึกยินดีเป็นอย่างยิ่ง เพราะจะได้สอนเกี่ยวกับเทคโนโลยีและการพัฒนาระบบอัตโนมัติให้กับนักเรียนกลุ่มนี้ ซึ่งก็คือนักเรียนห้องเรียนพิเศษ ม.1 และ ม.4 ครับ … แม้ว่าจะมีน้อง ม.1 เข้าร่วมกิจกรรมการอบรมเขียนโปรแกรมครั้งนี้ด้วย แต่ก็ต้องบอกว่าสามารถเรียนรู้และปฏิบัติได้ไม่แพ้พี่ ม.4 เลยทีเดียว … วันนี้ผมก็เลยขอนำเอกสารการอบรมมาเผยแพร่ให้ผู้ที่สนใจได้นำไปปรับใช้หรือนำไปใช้สอนนักเรียนครับ ตามลิงก์ที่ให้ไว้นี้เลย…

เอกสารประกอบการอบรม ESP32 (ระบบอัตโนมัติ, Line Notify, MQTT, Blynk)

เอกสารการอบรมนี้ผมจัดทำขึ้นเพื่อใช้อบรมให้ความรู้นักเรียนครับ คุณครูสามารถนำไปปรับใช้ หรือนำไปทดลองใช้ได้ครับ มีตัวอย่างตั้งแต่ระบบอัตโนมัติแบบง่าย ๆ ไปจนถึงการพัฒนาระบบ IoT เบื้องต้น ดังนี้ครับ ESP32 โดย ณัฐพล บัวอุไร

ชนะเลิศการประกวดโครงงานคอมพิวเตอร์ ระดับเขตพื้นที่การศึกษา พ.ศ. 2566

การแข่งขันศิลปหัตกรรมนักเรียน ระดับเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาปทุมธานี เขต 1 รายการแข่งขันโครงงานคอมพิวเตอร์ ม.4-6 ปีนี้ได้นักเรียนมาจากงานแสดงผลงานบูรณาการ ม.4 รายวิชาวิทยาการคำนวณครับ ซึ่งนักเรียนกลุ่มนี้มีความสามารถด้านการสร้างเกมคอมพิวเตอร์ด้วย Roblox และเป็นลูกศิษย์ห้องผมที่เป็นครูประจำชั้นด้วย … ความโชคดีคือนักเรียนมีความขยัน ตั้งใจ และผลงานทั้งหมดนักเรียนตั้งใจทำขึ้นมาเองเลย ทำให้ผลงานออกมาดีเกินคาด และสามารถนำเสนอให้กรรมการรับฟังได้อย่างดีเลย ซึ่งก็ได้รับรางวัลชนะเลิศมาในที่สุด … แต่ปีนี้การแข่งขันระดับชาติได้ประกาศงดการจัดการแข่งขันไปแล้วครับ แต่ถึงจะไม่ได้ไปแข่งต่อ แต่ผลงานนี้เชื่อว่านักเรียนสามารถพัฒนาต่อยอดหรือนำเสนอเกมในรูปแบบอื่น ๆ ตามความถนัดของตนเองบนเวทีอื่นได้ต่อไปอย่างแน่นอน

This Post Has 2 Comments

Leave a Reply

Your email address will not be published. Required fields are marked *

This site uses Akismet to reduce spam. Learn how your comment data is processed.